ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นในเขตจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

มนัส สุวรรณ
รัชพล สัมพุทธานนท์
ปิยวดี นิลสนธิ
ปัทมา รัตนกมลวรรณ

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาบริบทของวัฒนธรรมพื้นถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสื่อมถอยและเหตุปัจจัยแห่งความเสื่อมถอย และ (2) เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้อมูลที่จำเป็นรวบรวมได้จากบุคลากรของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดและคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัด รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและนักวิชาการอิสระด้านวัฒนธรรมโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเฉพาะ และการพบปะสนทนาแบบไม่เป็นทางการเป็นเครื่องมือ ข้อมูลที่รวบรวมได้แยกทำการวิเคราะห์เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นข้อมูลเกี่ยวกับบริบทของวัฒนธรรมพื้นถิ่นวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ส่วนที่สองเป็นข้อมูลจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคที่มีผลต่อการจัดทำยุทธศาสตร์วิเคราะห์ด้วย SWOT Analysis


            ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่า 720 ปี มีวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ภาษา การแต่งกาย การประกอบอาหาร การละเล่นการแสดง ประเพณี และอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมดังกล่าวมีความเสื่อมถอยตามกาลเวลาด้วยเหตุปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกหลายปัจจัย กรณีของยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นของ 2 จังหวัด ประกอบด้วย (1) ยุทธศาสตร์การทำนุบำรุงวัฒนธรรมพื้นถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน (2) ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน (3) ยุทธศาสตร์การสืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน แต่ละยุทธศาสตร์มีกลยุทธ์สำหรับเป็นแนวทางในการดำเนินการจำนวน 5, 5 และ 4     กลยุทธ์ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977).

จีรพรรณ กาญจนจิตรา. (2553). สังคมวิทยาประยุกต์ในโครงการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทวีศักดิ์ กันโยไช. (2564). มนุษย์กับวัฒนธรรม. สืบค้นจาก www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheworld/anth/21.htm

นิตยา มณีวงศ์. (2561). พฤติกรรมทางวัฒนธรรมนักศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารสารสนเทศ, 17(2), 1-8.

มนัส สุวรรณ. (2563). นิเวศวัฒนธรรม: ธรรมชาติเหนือมนุษย์ หรือ มนุษย์เหนือธรรมชาติ. ใน ที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วีระพงษ์ แสง-ชูโต. (2559). ปรัชญาวิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ภิรมย์กิจการพิมพ์.

ศูนย์การเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2563). แบบทดสอบความรู้เรื่องวิถีชีวิตบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อเด็กและผู้มีความต้องการพิเศษ. (2556). สถานการณ์และปัญหาของเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์, พระครูสิริธรรมบัณฑิต, พระมหากีรติ ฉัตรแก้ว, สหัทยา วิเศษ, และปาณิสรา เทพรักษ์. (2564). ศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์แห่งมรดกทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในล้านนา. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 6(2), 287-305.

สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. (2563). บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://www.chiangmai.go.th/managing/

public/D8/8D17Jan2022133138.pdf

สำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2563). สรุปรายงานประจำปี จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี 2563. สืบค้นจาก https://new.maehongson.go.th/wp-content/uploads/2021/11/annualreport2020-1.pdf

สุนิษา สุกิน และภัทรศิลป์ สุกัณศิลป์. (2563). การศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่. วารสาร Buddhist Education and Research, 6(2), 87-102.

Cambridge Dictionary. (2021). Culture. Retrieved from https://dictionary.cambridge.org/English/culture

Pressbooks. (2021). Introduction to sociology: Understanding and changing the social world: The elements of culture. Retrieved from https://pressbooks.howardcc.edu/soci101/chapter/3-2-the-elements-of-culture/