การวิเคราะห์แนวคิดและกลวิธีการนำเสนอแนวคิดในวรรณกรรมสำหรับเยาวชนของปิงซิน

Main Article Content

มัสยามาศ ชัยชนะกิจพงษ์
กนกพร นุ่มทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและกลวิธีการนำเสนอแนวคิดในวรรณกรรมร้อยแก้วสำหรับเยาวชนของปิงซินที่อยู่ในแบบเรียนภาษาจีนระดับมัธยมต้นของประเทศจีนจำนวนสี่เรื่องได้แก่ เรื่อง “ส่งให้ผู้อ่านตัวน้อย” (寄小读者) “เรื่องรำลึกชมระบำ” (观舞记) “เรื่องชื่นชมดอกซากุระ” (樱花赞) และ “เรื่องโคมส้มดวงน้อย” (小橘灯) ผลการศึกษานำเสนอ 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ด้านแนวคิด  2. ด้านกลวิธีเสนอแนวคิด  ประเด็นที่ 1 พบว่าด้านแนวคิดแบ่งเป็น 1) ด้านอารมณ์และจิตใจ ผู้เขียนนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความรักของมารดา ความรักของเด็กที่บริสุทธิ์ ความรักธรรมชาติ 2) ด้านสังคม นำเสนอสังคมแบบชนบท บริบททางสังคมของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 3) ด้านสติปัญญา นำเสนอแนวคิดแบบมีเหตุผลและสร้างสรรค์ 4) ด้านร่างกาย พบการนำเสนอเพียงเล็กน้อย โดยเป็นแนวคิดการรักษาตัวเมื่อเจ็บป่วย ไม่พบการนำเสนอด้านสุขภาพ เช่น การดูแลสุขภาพ ปลูกฝังการดื่มนมในเด็ก การปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากโรคภัย และส่วนประเด็นที่ 2 พบกลวิธีเสนอแนวคิดแบ่งเป็น 1) ผ่านโครงเรื่องพบทั้ง 4 เรื่องมีโครงเรื่องที่แสดงถึงสังคมจีนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 2) ผ่านตัวละคร ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้เขียนใช้มากที่สุด พบจำนวนตัวละครเพียงไม่กี่ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและสัตว์ โดยเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ ความรัก อดทนแก้ปัญหาอย่างเข้มแข็ง การมองโลกในแง่ดีผ่านบทสนทนาของตัวละคร 3) ผ่านฉากนำเสนอบรรยากาศแบบชนบท ทำให้ผู้อ่านตระหนักในคุณค่าและความงดงามของธรรมชาติ 4) ผ่านมุมมองผู้เขียน โดยนำเสนอเรื่องราวและสอดแทรกทัศนะของผู้เขียนได้แก่ แนวคิดด้านความรัก สำนึกรักบ้านเกิด และมิตรภาพระหว่างสองประเทศ จากผลการวิจัย ผู้วิจัยเห็นว่าลักษณะร่วมของวรรณกรรมทั้งสี่เน้นถึงปรัชญาของความรัก แฝงการบ่มเพาะความรักชาติ สร้างความสามัคคีของคนในชาติ เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวจีนและประเทศเพื่อนบ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bakasuyi, J. (1991). The making of children’s book. Bangkok: Suweerivasarn Company Limited. [In Thai]

Batprakhon, S. (2016). The common characteristics and femininity aesthetic in translated royal by Princess Sirindhorn. Journal of Graduate Study in Humanities and Social Sciences, 5(1), 1-36. [In Thai]

Bing, X. (1994a). Ping Xin's collection of literature Volume 2. Fuzhou City: The Strait Literature and Art Publishing House. [In Chinese]

Bing, X. (1994b). Ping Xin's collection of literature Volume 4. Fuzhou City: The Strait Literature and Art Publishing House. [In Chinese]

Bing, X. (1994c). Ping Xin's collection of literature Volume 5. Fuzhou City: The Strait Literature and Art Publishing House. [In Chinese]

Ceng, L. J. (2000). Analysis of Bing Xin courage's "cherry blossom praise. Journal of Huizhou University, 20(2), 1-36. [In Chinese]

Chiangthong, P. (1983). Children's literature. Chonburi: Faculty of Humanities Srinakharinwirot University Bangsaen. [In Thai]

Guo, F. P. (2014). The Study of Bing Xin's Views on Children and the Text of Curriculum. (Master 's Thesis, East China Normal University). [In Chinese]

Hui, L. M. (2018). From "learned" to "taught", cultivate the core language skills of students - "Case study" lesson design for analysis and reflection of “Watching Dance Note”. Education Teaching Forum, (7), 227- 229 [In Chinese]

Liu, T. B. (2013). The aesthetic value of Bing Xin's Works in Middle School Chinese Education. (Master 's Thesis, Yunnan Normal University). [In Chinese]

Mallikamas, K. (2000). Literary criticism. Bangkok: Ramkhamhaeng University. [In Thai]

Princess Maha Chakri, S. (2015). Smiles and tears of the heart. Bangkok: Nanmeebooks Publications Co., Ltd. [In Thai]

Sangthada, R. (1988). Children's books. Maha Sarakham: Srinakharinwirot Maha Sarakham University. [In Thai]

Supantwanich, I. (2004). Literary criticism. Bangkok: Active Print Company Limited. [In Thai]

Sirisinha, W. (1981). Writing stories for children. Bangkok: Watana Panich Publishing Co., Ltd. [In Thai]

Xie, Y. N. (2012). Commentary on Bing Xin's prose "Little Orange Lantern. Si Chuan University of Science & Engineering. DOI:10.16412/j.cnki.1001-8476.2012.18.010. Retrieved from http://www.Bingxinwang.com/bingxin dezuopin/141.html [In Chinese]

Zhang, H. J. (2015). Research on Bing Xin's prose. Theoretic Observation, (8), 131-132. [In Chinese]

Zhuang, M. F. (2007). The study of aesthetic World of Bing Xin “Sent to Young Readers”. (Master 's Thesis, Zhejiang University). [In Chinese]