การใช้กลุ่มสืบค้นที่เน้นเนื้อหาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความรู้ ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษและทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ของนักเรียนก่อนและหลังใช้กลุ่มสืบค้นที่เน้นเนื้อหาท้องถิ่นและเพื่อศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษและทักษะการทำงานเป็นกลุ่มของนักเรียนที่ใช้กลุ่มสืบค้นที่เน้นเนื้อหาท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4.1 โรงเรียนสตรีศรีน่าน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ 3102) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการสอนแบบกลุ่มสืบค้นที่เน้นเนื้อหาท้องถิ่น จำนวน5 แผนและแผนปฐมนิเทศ จำนวน 1 แผน แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ และแบบวัดทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความสอดคล้องของคะแนนด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความรู้ของนักเรียนเพิ่มขึ้นหลังใช้กลุ่มสืบค้นที่เน้นเนื้อหาท้องถิ่น ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้หลังใช้กลุ่มสืบค้นที่เน้นเนื้อหาท้องถิ่น และนักเรียนมีทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ในระดับดีหลังการใช้กลุ่มสืบค้นที่เน้นเนื้อหาท้องถิ่น
USING GROUP INVESTIGATION BASED ON LOCAL CONTENT TO PROMOTE KNOWLEDGE, ENGLISH WRITING ABILITY AND GROUP WORKING SKILLS AMONG MATHAYOM SUKSA 4 STUDENTS
The purposes of this research were to compare students’ knowledge before and after using group investigation based on local content and to study students’ English writing abilities and group working skills after the implementation of the approach. The target group was 35 Mathayom Suksa 4 students taking the additional English course (E 3102) during the first semester of the academic year 2013 at Strisrinan School, Nan province. The instruments were an orientation plan and 5 lesson plans of group investigation based on local content, a local knowledge test, an English writing assessment form, and a group working skills assessment form. The data obtained were analyzed for means, percentage and standard deviation. The findings were that students’ knowledge increased after using group investigation based on local content, their English writing ability met the preset criteria of 60% and their group working skills were at a good level after implementing the approach.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว