การใช้กิจกรรมผังสัมพันธ์ทางความหมายเพื่อเพิ่มพูนความสามารถ ในการอ่านภาษาอังกฤษและความคงทนในการจำคำศัพท์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนโดยการใช้กิจกรรมผังสัมพันธ์ทางความหมาย และศึกษาความคงทนในการจำคำศัพท์ของนักศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง จำนวน 33 คน ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษเทคนิค (13031005) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โดยทำการทดลองสอน 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง รวมชั่วโมงสอนทั้งหมด 21 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการสอนที่ใช้กิจกรรมผังสัมพันธ์ทางความหมาย จำนวน 7 แผน แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบทดสอบความรู้คำศัพท์ กลุ่มเป้าหมายทำแบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังการเรียนโดยใช้กิจกรรมผังสัมพันธ์ทางความหมาย ทำแบบทดสอบความรู้คำศัพท์หลังเรียนแล้วทิ้งช่วงไป 2 สัปดาห์ และทำแบบทดสอบวัดความรู้คำศัพท์ฉบับเดิม เพื่อหาค่าความคงทนในการจำศัพท์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-score และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนเพิ่มขึ้นหลังจากเรียนโดยใช้กิจกรรมผังสัมพันธ์ทางความหมายจากระดับที่ไม่ผ่านเป็นดีปานกลาง และผู้เรียนมีความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
USE OF SEMANTIC MAPPING ACTIVITY TO ENHANCE ENGLISH READING ABILITY AND VOCABULARY RETENTION AMONG BACHELOR LEVEL STUDENTS
The purposes of this research were to compare students’ English reading ability before and after learning through the semantic mapping activity and to study vocabulary retention of students. The target group consisted of 33 sophomores enrolled in Technical English (13031005) in the first semester of the academic year 2013 at Rajamangala University of Technology Lanna, Lampang Province. The period of teaching experiment was conducted within seven weeks, three hours a week, totally 21 hours. The research instruments consisted of 7 lesson plans using the semantic mapping activity, the English reading ability test and the vocabulary test. The English reading ability test was administered before and after the students learned through the semantic mapping activity. The vocabulary test was administered after learning and the same test was administered again after 2 weeks for vocabulary retention assessment. The data obtained were analyzed for means, standard deviation, T-score and percentage. The findings were the students’ English reading ability increased from a fail level to be a fairly good level after learning through the semantic mapping activity and the students have vocabulary retention.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว