ผลกระทบด้านสุขภาพจากการท่องเที่ยว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

เฉลิมชัย จารุมณี
ณรงค์ ณ เชียงใหม่
สิริพร บูรพาเดชะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพจากการท่องเที่ยวต่อผู้อยู่อาศัยในแหล่งท่องเที่ยวอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเสนอแนวทางเพื่อจัดการผลกระทบดังกล่าว ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 375 ครัวเรือน โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างจากความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้รับจากการสนทนากลุ่มของคณะกรรมการบริหารงานอำเภอ ซึ่งประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ผู้ตอบแบบสอบถามระบุผลกระทบด้านสุขภาพ 4 ประการและหัวข้อหลักในแต่ละประการดังนี้ ผลกระทบทางกาย (\inline \bar{X} = 3.34) คือ เกิดโรคระบบทางเดินหายใจเนื่องจากการได้รับมลภาวะจากขยะ และมลภาวะจากฝุ่นละออง โรคความดันโลหิตสูงโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียซึ่งเกิดจากยุงลายและยุงก้นปล่อง ผลกระทบทางจิตใจ(\inline \bar{X}= 3.44) คือ เกิดความรู้สึกไม่ดีเมื่อเห็นพฤติกรรมก้าวร้าวของเยาวชน, เกิดโรคเครียดเนื่องจากค่าครองชีพสูง เกิดความวิตกกังวลในความปลอดภัยในทรัพย์สินผลกระทบทางสังคม (\inline \bar{X} = 3.58) คือ การจ้างแรงงานต่างชาติมากขึ้น การดื่มของมึนเมามากขึ้นในเยาวชนและเกิดการแพร่ระบาดสารเสพติดในชุมชน ส่วนผลกระทบทางจิตวิญญาณ (\inline \bar{X} = 3.53) คือ ความภูมิใจที่เป็นเมืองท่องเที่ยว, ความหวงแหนในวัฒนธรรม และการสูญเสียความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายและสงบ

แนวทางจัดการเพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพจากการท่องเที่ยวของคณะกรรมการบริหารงานอำเภอ ผลกระทบทางกาย ได้แก่ เร่งรัดถ่ายโอนภารกิจการประปาให้การประปาส่วนภูมิภาค, บริหารจัดการขยะแบบครบวงจร, รณรงค์ลดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบทางจิตใจ ได้แก่ จัดกิจกรรมเชิดชูเยาวชนต้นแบบ, ส่งเสริมอาชีพ ผลิตภัณฑ์ชุมชน, การจัดระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมาย ผลกระทบทางสังคม ได้แก่ กวดขันแรงงานต่างชาติ, สร้างค่านิยมห่างไกลสิ่งเสพติด ในกลุ่มวัยรุ่น และดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันยาเสพติด ผลกระทบทางจิตวิญญาณ ได้แก่ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม, รักษาอัตลักษณ์และวิถีชุมชน

 

HEALTH IMPACTS FROM TOURISM IN PAI, MAE HONG SORN PROVINCE

This study aimed at identifying the health impacts from tourism on inhabitants in Pai (Mae Hong Sorn) and proposing how to manage such impacts. The quantitative data was collected from 375 households by using a questionnaire. The qualitative data was collected from groups’ discussion of government, private officers and inhabitants. Descriptive statistics was used to analyze the data. The respondents revealed four main impacts. Physical impacts were a disease from consuming under standard water, garbage and dust. Mental impacts were the bad feeling from seeing aggressive adolescence, the tense feeling from high living cost, and sound annoyance from tourists and their vehicles. Social impacts included a hire of more foreign labors, an increase in drug addict and alcoholic drinking among adolescence. Spiritual impacts were the proud of being a city of tourism, the conservation of culture, and loss of simple living.

There are solutions from the district committees. Physical impacts are solved by transferring Waterworks from Local to Provincial Authority and controlling the waste disposal system. Mental impacts are solved by promoting the adolescence activity, local product and law. Social impacts are solved by preventing the drug problem and immigrant labors. Spiritual impacts are solved by promoting the conservation activities and growing public mind in local people.

Article Details

บท
บทความวิจัย