ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในการทำงานของบุคลากรหน่วยงานสนับสนุนโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่

Main Article Content

พัฒนวดี เรืองจำเนียร
ณรงค์ ณ เชียงใหม่
รพีพร เทียมจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดในการทำงานและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในการทำงานของบุคลากรหน่วยงานสนับสนุนโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานสนับสนุน จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 3 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากความเครียดทั่วไปจากการทำงาน และแบบสอบถามปัจจัยที่สัมพันธ์

กับความเครียดในการทำงานทั้ง 6 ด้าน ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรหน่วยงานสนับสนุนมีระดับความเครียดในการทำงานอยู่ในระดับต่ำ และสถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับความเครียด (p≤0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านโครงสร้างและบรรยากาศองค์กร ปัจจัยด้านบทบาทหน้าที่ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน ปัจจัยด้านความสำเร็จและความก้าวหน้าในอาชีพ และปัจจัยด้านลักษณะงาน มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.29, 0.51, 0.44,0.30 และ 0.25; p≤0.05 ตามลำดับ)

 

FACTORS RELATED TO STRESS OF SUPPORTING STAFF IN CHIANG MAI NEUROLOGICAL HOSPITAL

The purposes of this survey research were to study stress levels in the workplace and factors related to stress of supporting staff in Chiang Mai Neurological Hospital. The subjects were 83 supporting staff. The research instruments consisted of 3 parts including Personal Data Questionnaire, Health Impact Caused by Work Stress Questionnaire and 6 Factors Related to stress in workplace Questionnaires. Data were analyzed by using descriptive statistics Chi-square and Correlations analysis. The results showed that supporting staff were at low level of stress and marital status was sigficantly related to stress levels (p≤0.05). Additionally, the six factors related to stress in workplace including structure and organizational factors, Role factors, Relationship factor, success and progression factors and job character is factor were significantly and positively related to job stress level (r=0.29, 0.51, 0.44, 0.30 and 0.25; p≤0.05, Respectively)

Article Details

บท
บทความวิจัย