พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธัญญาภรณ์ อุทร
วันทนี ชวพงค์
รพีพร เทียมจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัย และพฤติกรรมส่วนบุคคลกับความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก และความสัมพันธ์ของความรู้ ทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนจำนวน 358 คน ในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามและการตรวจสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ร้อยละ 63.69 และ 36.31 ตามลำดับ จากการตรวจสุขภาพช่องปากของนักเรียนพบว่า นักเรียนชายฟันผุมากกว่านักเรียนหญิง จำนวน 150 คน และ 137 คน ตามลำดับ และนักเรียนชายมีสภาวะเหงือกอักเสบมากกว่านักเรียนหญิง จำนวน 95 คน และ 91 คน ตามลำดับ ผลการศึกษาจากแบบสอบถามพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีระดับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากอยู่ในระดับสูง ( \inline \bar{X}= 0.74, S.D. = 1.75) มีระดับทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง ( \inline \bar{X}= 2.26, S.D. = .44) และมีระดับการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{X} = 2.03, S.D = .16) การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพในช่องปาก พบว่า จำนวนพี่น้อง การได้รับเงินค่าขนม และอาชีพผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากพบว่า เพศ อายุ อาชีพผู้ปกครอง การไปรับการตรวจสุขภาพช่องปากและการได้รับความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และนอกจากนี้พบว่าความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .124, p = .019 และ r = .172, p = .001 ตามลำดับ)

 

ORAL HYGIENE CARE BEHAVIOR OF SECONDARY SCHOOL CHILDREN IN CHIANG DAO DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE

This descriptive research is aimed to study correlation between personal factors and knowledge, attitude on oral hygiene care, and to study correlation between knowledge and attitude on oral hygiene care behaviors of students in secondary school year 1-3 in Chiang Dao District, Chiang Mai Province, by applying Health Belief Model. The samples were 358 students taken by systematic random sampling. Data was collected by oral health examination and using questionnaires, and then analyzed by descriptive statistics.

The research findings revealed that the students mostly were female more than male as 63.69% and 36.31%, respectively. The results of oral health examination of the students showed that number of male students with decayed tooth was more than the female ones as 150 and 137 persons, respectively, and the number of male students with gingivitis was more than the female ones as 95 and 91 persons, respectively. The study results from questionnaires showed that most of students had high level of knowledge (\inline \bar{X} = 0.74, S.D. = 1.75), medium level of attitude (\inline \bar{X} = 2.26, S.D. = 0.44), and medium level of practice (\inline \bar{X} = 2.03, S.D. = 0.16) on oral hygiene care. The study on correlation between personal information and knowledge on oral hygiene care revealed that number of siblings, pocket money, and parents’ career were significantly correlated to knowledge on oral hygiene care, and the study on correlation between personal information and attitude on oral hygiene care revealed that gender, age, parents’ career, taking oral heath examination, and having knowledge on oral health were significantly correlated to attitude on oral hygiene care. In addition, knowledge and attitude were positively correlated to practice on oral hygiene care (r = .124, p = .019 and r = .172, p = .001, respectively).

Article Details

บท
บทความวิจัย