ภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน สาขาสามแยกสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและค้นหาภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน สาขาสามแยกสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของผู้ใช้บริการทั่วไปที่เข้ามาติดต่อทำธุรกรรมทางการเงินหรือใช้บริการกับทางธนาคารออมสิน สาขาสามแยกสันทราย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 250 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่าความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการธนาคารออมสิน สาขาสามแยกสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย และเมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านพบว่า มีการรับรู้ภาพลักษณ์ที่เห็นด้วยเป็นอันดับหนึ่งคือ ด้านพนักงาน รองลงมาคือ ด้านสินค้า ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ ด้านผู้บริหาร ด้านการดำเนินธุรกิจ และด้านกิจกรรมสังคมตามลำดับ
สำหรับแนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน สาขาสามแยกสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จะต้องมีการจัดการปรับการให้บริการสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน การฝึกอบรมบุคลากรที่ปฏิบัติงาน การร่วมรับฟังการประชุมของกองทุนหมู่บ้านของชุมชน การจัดการสภาพแวดล้อมภายในสาขา ประเภทบัญชีเงินฝากของธนาคารและการทำธุรกรรมทางการเงินไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการธนาคารออมสินสาขาสามแยกสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีเพศและสถานภาพต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของธนาคารในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการธนาคารออมสินสาขาสามแยกสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีอายุและระดับการศึกษา มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของธนาคารในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการธนาคารออมสิน สาขาสามแยกสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีอาชีพและระดับรายได้ต่อเดือน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของธนาคารในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
THE CUSTOMER’S IMAGE OF GOVERNMENT SAVINGS BANK SAM YAK SAN SAI BRANCH, CHIANG MAI
The purposes of this study were to study to the image of Government Savings Bank, Three Separate Sansai Branch, Chiang Mai Province. The data was classified by the customers contacting to financial transactions or other services with Government Savings Bank, Three Separate Sansai Branch, Chiang Mai Province. This study was a survey research. The samples were 250 customers. For collecting data, the instrument of this study was a questionnaire with reliability at 0.73 level. The statistical analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The findings of the study were as follows :
According to opinion of the samples of the customers contacting with Government Savings Bank, Three Separate Sansai Branch, Chiang Mai Province, it was ranked at agreed level. Regarding to mean of each aspect, the first image at agreed level was the officers. The following images were goods, equipments, administrator, business administration, and social activities.
According to development of image of Government Savings Bank, Three Separate Sansai Branch, Chiang Mai Province, the bank must change the service of Citizens Bank loan projects, training the officers, meeting with Village Fund Community, managing condition of the bank Accounts of the bank, and financial transactions can’t be used normally.
The results of hypothesis testing found that opinion of the samples of the customers contacting with Government Savings Bank, Three Separate Sansai Branch, Chiang Mai Province and having different genders and status have the same opinion about image of bank. Opinion of the samples contacting with Government Savings Bank, Three Separate Sansai Branch, Chiang Mai Province and having age and education have the different opinion about image of the bank. It was significantly different at the .05 level. Opinion of the samples of the customers contacting with Government Savings Bank, Three Separate Sansai Branch, Chiang Mai Province and having occupations and salary have the different opinion about image of the bank. It was significantly different at the .01 level.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว