ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีค่าความสอดคล้องและความตรง (IOC) เท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ (Percentage) ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ค่า t-test และความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่าความพึงพอใจของนักท่องนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมีระดับความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ในระดับมากที่สุดคือ ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) รองลงมาคือ ด้านบุคลากร (People) ด้านราคา (Price) ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence and Presentation) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาและรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนักท่องนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอาชีพต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
GUIDELINES FOR STRENGTHENING LOCAL ADMINISTRATIVE THAI TOURISTS’S SATISFACTION TOWARDS SERVICES MARKETING’S MIX OF ROYAL PARK RAJAPRUEK CHIANGMAI
Thai study, the purpose is to study the satisfaction of the services marketing mix classified according to basic services using survey research methods to collect a sample survey of 400 Thai tourists. The data collection tools used questionnaire with consistency and index of item objective congruence corresponding value was 1.00. The statistics used in data analysis were percentage, frequency, mean, standard deviation, hypothesis by analysis the T-test and One Way Anova.
The results showed that satisfaction of the overall is very good and considering that in aspect most : product, people, price, physical evidence and presentation, process, promotion and place.
The hypothesis test results found that complacency on part of the marketing mix of the sex, age, education, income; did not differ. The corresponding was 0.05. But for the different caressers have different satisfaction level of statistical significance was 0.05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว