นิเวศวัฒนธรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเสื่อมสภาพของแหล่งน้ำทั้งมลพิษทางน้ำ การเกิดอุทกภัยจากน้ำล้นตลิ่ง รวมถึงภัยแล้งที่ทำให้น้ำในแม่น้ำแห้งขอดและไหลช้าในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อน มีสาเหตุสำคัญมาจากกิจกรรมของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะชุมชนริมฝั่งแม่น้ำ ทั้งการปล่อยน้ำเสียจากชุมชนการบุกรุกลำน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงการทิ้งขยะริมตลิ่ง และการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติล้วนมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้การใช้แนวคิดนิเวศวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของประชาชนในการจัดการทรัพยากรน้ำจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการใช้ประโยชน์ของประชาชน และก่อเกิดกระบวนการมีส่วนร่วม การสร้างเสริมกิจกรรมและสร้างแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ และการสร้างกติกาชุมชนบนฐานแนวคิดนิเวศวัฒนธรรม รวมถึงสร้างแนวคิดในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ
WATER RESOURCE MANAGEMENT OF CULTURAL ECOLOGY
The river’s deterioration consists of water pollution, overflows flooding and droughts affecting dry up and slow flowing of water from winter to summer. The major causes are people’s activities, especially water drainage from settled along the river community, trespassing for agriculture, littering on settled along the river community, and climate change. The relationship between these to the river utilities. The cultural ecology applications to the policy recommendations for river utility were people should establish the participation process, local
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว