การใช้ไคโตซานจากเชื้อรา Mucor rouxii เพื่อยับยั้งเชื้อราก่อโรคในลำไย

Main Article Content

น้ำค้าง สวัสดิ์ประดิษฐ์
กัลทิมา พิชัย
อโนดาษ์ รัชเวทย์

บทคัดย่อ

การศึกษาการผลิตไคโตซานจากเชื้อรา Mucor rouxii ในอาหารเลี้ยงเชื้อ BG medium และอาหารเลี้ยงเชื้อ PDB สูตรดัดแปลงแป้งข้าวเจ้าเป็นแหล่งคาร์บอนที่มีความเข้มข้น 1, 2, 3, 4 และ 5 เปอร์เซ็นต์ และทำการเก็บตัวอย่างเป็นเวลา 5 วัน พบว่า อาหาร BG medium ที่มีแป้งข้าวเจ้าที่ความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลการผลิตไคโตซานได้สูงที่สุดในวันที่ 3 มีน้ำหนักเซลล์แห้ง 179.20 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ปริมาณไคโตซาน 44.36 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และสารสกัดไคโตซานที่ได้มีค่า pH เท่ากับ 6.5 ค่าน้ำตาลรีดิวซ์ 749.30 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบสารประกอบของสารสกัดไคโตซานจากเชื้อรา M. rouxii กับไคโตซานมาตรฐาน (เชิงพาณิชย์) ด้วยเครื่อง FTIR spectrophotometer เพื่อดูความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างสารประกอบของไคโตซาน จากผลค่าการดูดกลืนแสงของสารพบว่า สารสกัดไคโตซานจากเชื้อรา M. rouxii ที่ได้ใกล้เคียงกับไคโตซานมาตรฐาน (เชิงพาณิชย์) โดยมีหมู่สำคัญเหมือนกัน เช่น C=O stretching ของหมู่ amide ที่ประมาณ 1400-1650 cm-1 และหมู่ NH stretching ที่ประมาณ 3000-3500 cm-1 และหมู่ OH stretching ที่ประมาณ 1080-2885 cm-1 จากนั้นนำไคโตซานที่ได้ไปศึกษาผลของสารสกัดไคโตซานต่อการยับยั้งเชื้อราที่ก่อโรคในลำไย พบว่า สารสกัดไคโตซานจากเชื้อรา M. rouxiii ทุกระดับความเข้มข้นมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเส้นใยของเชื้อรา Colletotrichum sp. และ Aspergillus niger จากลำไยได้สูงกว่าไคโตซานมาตรฐาน (เชิงพาณิชย์) ในขณะที่สารสกัดไคโตซานจากเชื้อรา M. rouxii ทุกระดับความเข้มข้นมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเส้นใยของเชื้อรา A. flavus และ Penicillium sp. จากลำไย ใกล้เคียงกับไคโตซานมาตรฐาน (เชิงพาณิชย์)

 

USING OF CHITOSAN FROM Mucor rouxii FOR INHIBITION OF LONGAN FUNGAL PATHOGENS

Chitosan production by Mucor rouxii was determined by using liquid culture technique, BG and PDB which was formula adapted using rice flour as a carbon-source with concentration of 1, 2, 3, 4 and 5 percent. and incubated for five days. It was found that BG medium added with 2% rice flour produced the most chitosan amount in the third day. Cell dry weight was 179.29 milligrams per millilitre. The quantity of chitosan was 44.36 milligrams per millilitre with pH of 6.5 and quantity of reducing sugar was 749.30 milligram per millilitre. Extracted chitosan from M. rouxii and commercial chitosan were compared by using FTIR analysis. The results showed that extracted chitosan from M. rouxii had functional groups similar to a commercial chitosan and also had some of the same functional groups e.g. C=O stretching of amide group at approximately 1400-1650 cm-1, NH stretching group at approximately 3000 -3500 cm-1 and OH stretching group at approximately 1080-2885 cm-1. After that effect of extracted chitosan from M. rouxii and commercial chitosan. The inhibition effect of M. rouxii chitosan on longan fungal desease was evaluated. It was found that extracted chitosan from M. rouxii at all concentration level provided higher effectiveness against Colletotrichum sp. and Aspergillus niger than commercial chitosan but could inhibit against A. flavus and Penicillium sp. With the same efficiency of commercial chitosan.

Article Details

บท
บทความวิจัย