ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีการระบาดอย่างรวดเร็วและมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเป็นปัญหาที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน หากประชาชนยังขาดการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อาจจะทำให้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากยิ่งขึ้น การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษากับประชากรเป้าหมาย จำนวน 300 คน ซึ่งสุ่มขนาดประชากรเป้าหมายด้วยตารางสุ่ม Kercy & Morgan รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 เป้าหมายเพื่อประเมินความรู้และการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แบบสอบถามได้ผ่านการหาค่าความเชื่อมั่น และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีการรับรู้ในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ88.83 ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 83.59ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 85.08 และด้านการรับรู้อุปสรรคการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 79.86 ส่วนในด้านการมีส่วนร่วมนั้นพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและการตัดสินใจของกลุ่มตัวอย่าง พบมากที่สุดคือ การเข้าร่วมค้นหาหรือสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้าน ( =2.73) พบน้อยที่สุดคือ การเข้าร่วมตัดสินใจกำหนดกฎของหมู่บ้านเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ( =2.50) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของกลุ่มตัวอย่าง พบมากสุดคือ การคว่ำเศษวัสดุที่มีน้ำขัง เช่น กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ ( =2.83) พบน้อยสุดคือ การบริจาคเงินในการจัดกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน ( =2.19) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก การมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลของกลุ่มตัวอย่างพบมากที่สุดคือ การเกิดความสามัคคีของคนในหมู่บ้านในการร่วมมือกันป้องกันโรคไข้เลือดออก ( =2.78) พบน้อยที่สุดคือ เคยร่วมประเมินการให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกทางหอกระจายข่าว ( =2.24)
ปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลระดับคะแนนเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และระดับคะแนนด้านการรับรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับระดับคะแนนเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกคือ อาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม และทำงานอยู่ในพื้นที่หมู่บ้าน หรือหมู่บ้านใกล้เคียง จึงมีโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเป็นอย่างดี ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับระดับคะแนนด้านการรับรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกคือ เพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
FACTORS EFFECTED OF DENGUE HEMORRHAGIC FEVER PARTTICIPATION OF PEOPLE ON PREVENTION IN KHUNGPOA SUBDISTRICT, CHOMTHONG DISTRICT, CHIANGMAI
Dengue fever was a disease that had spread and grown rapidly in a number of patients. The major problems that affected in public health. Even if people still lack of awareness and participation in the preventing and controlling of Dengue fever, the resulted in an outbreak of Dengue fever wounld occurred seriously. This Quantitative research aimed to study the awareness of the public in the community in preventing and controlling of Dengue fever in Khuangpao Tambol, Chomthong district, Chiang Mai province and to study the involvement of the public in the prevention and control of dengue fever. Chomthong district, Khuangpao Tambol, Chiang Mai province. The population of the people in Khuangpao sub-district was gathered, the 300 samples of this studied was collected by method. The question was used in this research had created with the reliability of questionnaire of 0.77. The questionnaires in this research were used to target in evaluating the knowledge and the participation of the people in preventing. The reliability of questionnaires analyzes by the description statistics by the description statistics.
The results showed that the most people are perceived in the preventing and controlling of Dengue fever in a high level in 88.83 percent. The perception in the severity of the disease was in the high level as 83.59 percent. The perceiption of the benefits of action in preventing and controlling of Dengue fever was in the high level with 85.08 percent and the perceiption of the obstacle in preventing and controlling of Dengue fever was in moderate level 79.86 percent. In case of the participation of the people in problem searching and decision making of the people in the area, most was in cooperative in explore mosquitoes breeding in the village ( =2.73) and the minimum in participation of decisions making in setting rule of community about the prevention and controlling of Dengue fever ( =2.50). The activity last of the people most was in turn down the water container such as tin, shell and rubber of automobile ( =2.83). The leart activity for the people in the village was the donation for the activity in prevention and controlling of Dengue fever ( =2.19). The participation of the people in working evaluate of the sample was the unity of the people in the village in working together in prevention Dengue fever ( =2.78). The least participation in the working evaluate was used to cooperative of evaluation of Dengue fever knowledge by the broadcast tower in the village ( =2.24)
Factors that affected in the relationship.between personal factors, average score in the participation and controlling of Dengue fever and the score in perceiring for prevention and controlling of Dengue fever found the factor that effected to the average score of the participation in prevention and controlling the Dengue fever was the carreer of the people with statistically significant at <0.05 clue to most of the people were farmers and working in the village .From the reason they could have good participated in all activities. The Personal factors that effected the level of awareness in prevention and controlling of the Dengue fever was gender with statistically significant at the 0.05 level.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว