การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเรียนรู้เรื่องสาร ผ่านยางพารา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

อัจฉรีย์ ศรีประพันธ์
พลพัฒน์ รวมเจริญ
ชุติมา จันทรจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเรียนรู้เรื่องสารผ่านยางพารา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รวมทั้งเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 32 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเรียนรู้เรื่องสารผ่านยางพารา  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที (t-test)  ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเรียนรู้เรื่องสารผ่านยางพารา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.46/80.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเรียนรู้เรื่องสารผ่านยาพารา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียน (\inline \bar{X}=24.25, S.D. = 4.80) สูงกว่าก่อนเรียน (\inline \bar{X}=10.00, S.D. = 4.57) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่ในระดับพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41   ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเป็นประโยชน์สำหรับใช้ในการพัฒนาเรียนการสอนได้ ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย ตามความสามารถของตนเอง

 

THE DEVELOPMENT OF COMPUTER ASSISTED INSTRUCTION ON THE TITLE OF LEARNING SUBSTANCES THROUGH THE PARA RUBBER FOR PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS 

The present research aimed to develop a Computer Assisted Instruction (CAI) on the title of Learning Substances through the Para Rubber for Prathomsuksa 6 Students with the standard efficiency of 80/80, to compare the achievement before and after learning by CAI, and to study the student’s satisfactory of using CAI. A computer-assisted teaching lesson was developed on the basis of Adobe captivate by the Para Rubber narration. The sample of students consisted of 32 students who were studying in Prathomsuksa 6 at the Tessaban 1 Bansadao School, Sadaoduring the second semester of academic year 2013. The computer assisted instruction (CAI) lesson, the learning achievement test of students before (pretest) and after (posttest) learning, and CAI satisfactory checklist for students were used to examine in this study. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, percent and t-test hypothesis testing. It was found that the efficiency of CAI was 81.46/80.22 which was higher than the standard value of 80/80. The student learning achievement after learning was higher than that before learning with the statistical significance of 0.01. Moreover, the subjects had the high level of satisfaction towards the use of CAI with the mean of 4.41. From the previous results, it could be concluded that this CAI could be beneficial to develop the instruction for the students who learn by using their own ability.

Article Details

บท
บทความวิจัย