การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียวิชาชีววิทยา เรื่อง อนุกรมวิธาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

พจนารัตน์ อำไพฤทธิ์
สุวรรณี พรหมศิริ
สธน เสนาสวัสดิ์

บทคัดย่อ

อนุกรมวิธาน เป็นสาขาหนึ่งของวิชาชีววิทยาที่มีเนื้อหาสาระที่ค่อนข้างยาก ซับซ้อนต่อการทำความเข้าใจ สื่อประกอบการเรียนรู้ที่ใช้มีลักษณะเป็นนามธรรมที่อยู่ในรูปแบบของการบรรยายด้วยตัวอักษรในหนังสือ มีภาพประกอบน้อย ไม่สามารถกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจได้ จึงส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้มีการพัฒนาการจัดการสอนเรื่องอนุกรมวิธานที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิมคือ การนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(inquiry process) หรือที่เรียกว่า 5E ที่มีความเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ มาใส่ไว้ในบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียทำให้มีลักษณะเป็นบทเรียนสำเร็จรูปที่นักเรียนสามารถศึกษา ทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง สามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน จนสามารถพัฒนาเป็นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ที่ดีกว่าเดิม มีความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและระดับของผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและคู่มือการใช้งานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียพร้อมคู่มือการใช้งานบทเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย(mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(standard deviation) ร้อยละ และสถิติ t-test ชนิด dependent sample ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียวิชาชีววิทยา เรื่อง อนุกรมวิธานสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 80.17/83.83 สูงกว่าเกณฑ์ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับ พอใจมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเป็นประโยชน์สำหรับใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ สามารถพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ต่อไป

 

DEVELOPMENT OF THE COMPUTER MULTIMEDIA INSTRUCTION PROGRAM ON TAXONOMY FOR MATTHAYOMSUKSA 6 

Taxonomy is very difficult for understanding of the student and taxonomy ’s book is not interested for the student.This reason made the learning achievement of student very low so the researcher make the development of learning management about taxonomy by put the inquiry process leaning(5E) into the computer multimedia to instruction program for student. The objectives of the research on the Computer multimedia instruction program on taxonomy for matthayomsuksa 6 were to develop the Computer multimedia instruction program with the standard efficiency of 80/80, to compare the learning achievement of student before and after learning by the computer multimedia instruction program, to determine the opinion of the student toward the computer multimedia instruction program. The design of this research was a quasi – experiment on the 1 group pretest posttest design, the sample of this study were 30 students of mathayomsuksa 6 from Cha-uat school. The samples were selected by cluster sampling technique. The instrument of this study included the computer multimedia instruction program on taxonomy for matthayomsuksa 6, a set of learning achievement test and a set of questionnaires on the opinion of the student toward the computer multimedia instruction program. To analyze the learning achievement of the computer multimedia instruction program, mean, standard deviation, percentage and t-test (Dependent samples) were used. The results of the study revealed that the efficiency of the computer multimedia instruction program with the higher standard efficiency of 80.17/83.83, the learning effectiveness of students concerning on taxonomy was higher after studying through the computer multimedia instruction program at 0.05 significant level. In term of identifying student’s satisfaction : student had high satisfaction on overall features of the developed program. From the previous results, it could be concluded that the computer multimedia instruction program could be beneficial to develop the instruction by students who are important for instruction and full of their ability and use the knowledge apply to another beneficial in the future.

Article Details

บท
บทความวิจัย