การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ(4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 38 คน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 ชุด (2) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 ทักษะ (3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน (4)แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน และ (5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า
- ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์คือ 82.03/81.11
- ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
- ผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
THE CONSTRUCTION OF LEARNING ACTIVITY PACKAGES ON SCIENCE PROCESS SKILLS FOR PRATHOMSUKSA 4 STUDENTS
The construction of learning activity packages on science process skills forprathomsuksa 4 students was aimed at (1) constructing and finding of learning activity packages on science process skills for prathom Suksa 4 students, (2) studying the effect on the science process skill of Prathom Suksa 4 students, (3) comparing the academic achievement before and after learning using activity packages on science process skills,and(4) studying thesatisfaction of the students with the use of the science process skill activity packages for Prathom Suksa 4 students.The sample included 38 Chiang MaiRajabhat University Demonstration School Prathom Suksa 4 students enrolled in the 2nd semester of 2013 academic year. Research instruments used included (1) 4 activity packages learning activity packages of science process skills, (2) tests on 4 science process skills, (3) pre-test and post-test on academic achievement composed,(4) 8 learning plans, and (5) form for evaluating student’s satisfaction with learning activity packages of science process skills. Statistics used for data analysis included mean, percentage, standard deviation, and t-test.The findings reveal that:
- The science process skill developing activity package for Chiang Mai Rajabhat University Demonstration School Prathom Suksa 4 students had the efficiency of 82.03/81.11
- After the use of science process skill developing activity package for Prathom Suksa 4 the students had science process skill development at very good level.
- Academic achievement of science learning after the use of the science process skill activity package was higher than before at.05 statistical significance level.
- The students were satisfied with the use of science process skill developing activity package, in general, at much level.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว