การเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงที่มีภาวะเครียด ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสบหาร ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

ธมนรดา โอภาสฐิติยศ
ณรงค์ ณ เชียงใหม่
จิติมา กตัญญู

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความเครียด บริบทของครอบครัวผู้มีแนวโน้มฆ่าตัวตาย  และผลของกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจในครอบครัว เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงในเขตรับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสบหาร ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การคัดกรองและประเมินภาวะเครียดด้วยแบบประเมินของกรมสุขภาพจิตในประชาชนจำนวน 901 คน ระยะที่ 2 เป็นกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจในกลุ่มครอบครัวผู้มีแนวโน้มฆ่าตัวตาย จำนวน 8 ครอบครัว เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมผลการศึกษาพบว่า ในระยะคัดกรอง ชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงที่มีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติมาก จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 13.76 ของผู้ตอบแบบประเมินทั้งหมดระยะที่ 2 ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ผู้ที่มีแนวโน้มในการฆ่าตัวตายและผู้ใกล้ชิด จำนวน 8 ครอบครัว เข้าร่วมกระบวนการกลุ่มเสริมสร้างพลังอำนาจ

ผลการทำกระบวนการกลุ่ม พบว่า ปัญหาการฆ่าตัวตาย ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาของตนเองและครอบครัวเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของสังคมด้วย กิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจแสดงให้เห็นถึงการที่สมาชิกกลุ่มได้ มองเห็นคุณค่าของตนเอง ยอมรับและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และครอบครัวได้ การติดตามประเมินหลังจาก เสร็จสิ้นกระบวนการการเสริมสร้างพลังอำนาจไปแล้ว 3 ครั้ง คือ สัปดาห์ที่ 1, 3, และ 7 ก็พบว่าทั้ง 8 ครอบครัวมีพลังอำนาจเพิ่มขึ้น สามารถให้การดูแลผู้มีแนวโน้มฆ่าตัวตาย มากขึ้น มีการไปมาหาสู่และนัดหมายรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันในครอบครัว และระหว่างครอบครัว

 

THE EMPOWERMENT FOR PREVENTION ON SUICIDE OF KAREN HILL TRIBE WITH STRESS IN RESPONSIBILITY AREA OF BAN SOBHAN, SUBDISTRICT HEALTH PROMOTING HOSPITAL, BAN KAT SUBDISTRICT, MAE SARIANG DISTRICT, MAE HONG SON PROVINCE 

The purpose of this study was to explore the stress level under the context of family with member who tend to try to commit suicide and the result of the empowerment program to prevent suicidal attempt of Karen tribe in Ban Sobhan, BanKat district, Mae Sarieng, Mae Hong Son Province. The data collection was divided to 2 phases, namely, Phase 1 was selecting and evaluating stress status by utilizing the questionnaire from the Department of Mental Health from 901 respondents. Phase 2 was implementation of the empowerment program in the family whose members were likely to try to commit suicide in the number of 8 families. In this phase, the data collection was conducted by unstructured interview, in-depth interview, participatory observation and non-participatory observation. The results shown that there was high level of stress in Karen patients in the number of 124 patients or 13.76% of all respondents. In Phase 2, analyzed and screened 8 of suicidal attempt and their family members to participate in the empowerment program.

The result of the empowerment program found that attempts in committing suicide was not only individual or family problem but also social problem. Empowerment as activity to demonstrate the way to realize self-actualization, self-acceptance and self-confidence to patients and other family members.Evaluated the empowerment program 3 times which were after the first, third and the seventh week and found that all 8 families shows more power in handling problems, the target families were better taken care of, there were regular meeting set up ensuring the participation of assigned activities between family members and among families.

Article Details

บท
บทความวิจัย