พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ธีระศักดิ์ แป๊ะป๋อง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการได้รับบริการจากอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน, 2) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ, 3) ความสัมพันธ์ของการให้บริการด้านถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้แก่ผู้สูงอายุและครอบครัว และ 4) ความสัมพันธ์ของการให้บริการด้านการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดี  ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ  เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่รับบริการ  จำนวน 175 คน (คัดเลือกโดยการจับฉลากประเภทติดสังคม  125 คน และประเภทติดบ้านหรือติดเตียง 50 คน)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนที่มีค่าความสอดคล้อง 0.79 และค่าความเชื่อมั่น 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อันตรภาคชั้น  และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  การได้รับการบริการจากอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุจำนวน 6 ด้าน พบว่า ได้รับบริการจากอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง  ค่าเฉลี่ย=1.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=.31 , พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง  ค่าเฉลี่ย=1.02 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=.29,วิเคราะห์ความสัมพันธ์ การให้บริการด้านถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้แก่ผู้สูงอายุและครอบครัวผู้สูงอายุ พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในระดับต่ำ (r=.271*) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และความสัมพันธ์การให้บริการด้านการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดี มีความสัมพันธ์เชิงลบระดับต่ำ(r=-.067) ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

 

SELF-CARE BEHAVIORS OF ELDERLY IN BAN NA SUB-DISTRICT, BAN NA DOEM DISTRICT, SURAT THANI PROVINCE

This research was a aimed to study  1) the services of elderly care  volunteers at home, 2) self-care behavior of the elderly. 3) the relationship of providing knowledge services  to  promote healthy aging for the elderly and families , and 4) the relationship of encourage  services for elderly  to healthy practice with self-care behaviors . The participants were 175  elderly who received the  health care service (125 society elderly  and 50 elderly lived  in house or can not out from bed) collected data by rating scale questionnaire  , that are validity of the index of Item-Objective Congruence  was .79 ; Cronbach’s alpha coefficient was 0.72  and quantitative data analysis  with  frequency,  percentage, average, standard deviation,  interval  and  Correlation coefficient of  Pearson. The findings were  :  the volunteers’ service for the elderly is moderate,  = 1.31, SD = .31 and  the self-care behaviors of the elderly at home were moderate = 1.02, SD = .29 then  the relationship of providing knowledge services  to  promote  healthy aging for the elderly and families found a positive correlation between self-care behaviors at low level , r = .271 * and not statistical significance and the relationship of encourage  service for elderly  to healthy practice with self-care behaviors  found a negative correlation between self-care behaviors  at  low  level , r = -. 067 in the statistical significance level of .05 

Article Details

บท
บทความวิจัย