ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน

Main Article Content

ฐิตาพร มะลิเครือ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้มีน้ำหนักเกินมาตรฐานในชุมชนบ้านคลองม่วง ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ดัชนีมวลกายเกิน 23.00 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ กิจกรรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยใช้ทฤษฎีการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิปสัน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1. การค้นพบสถานการณ์จริง 2. การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ  3. การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม 4 การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ  ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์  ตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ดัชนีความตรงเนื้อหา = 0.88 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1.แบบทดสอบความรู้พฤติกรรมการดูแลตนเอง ตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยการใช้ Kruder Richardson (KR 20) = 0.86  2.แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง ตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยวิธี  สัมประสิทธิของครอนบราช ได้ค่าความเชื่อมั่น = 0.85  3.แบบบันทึกน้ำหนักตัว ประจำสัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ ด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบ ความแตกต่างของคะแนน ความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก 3 อ. ด้วยสถิติ   t-test

ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ด้านพฤติกรรมการดูแลตนเอง และค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกาย สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่าการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้มีน้ำหนักเกินมาตรฐานในชุมชนบ้านคลองม่วง มีผลให้พฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น

 

THE EFFECT OF EMPOWERMENT FOR SELF-CARE BEHAVIOR ON OVERWEIGHT PEOPLE 

The research aimed to study the consequences of the empowerment for self-care behavior of overweight people who had in Ban Klongmong community of Moung District Krabi Province. The sample consisted of 29 overweight people in Ban Klongmong with their body mass index over 23.00 kg/m and were over 35 years old. Research tool used as the intervention is the process of Gibson’s theory.  Data collecting were questionnaire, and weekly data collecting form for recording the weight. The data collected were analyzed quantitatively using statistical methods by means percentage,mean, standard deviation to differentiate the score of knowledge and self care behavior a compare them by t-test.

The results revealed that : after used empowerment activity, overweight health people had more means of knowledge and self-care behaviors than before participating in activities with statistically significant differences. (p=0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย