การพัฒนาชุดฝึกอบรมที่เหมาะสมกับการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบล กรณีศึกษาตำบลแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียใหม่

Main Article Content

พวงแก้ว แสงบุญเรือง
เกตุมณี มากมี
เสริมศักดิ์ นันทิทรรภ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมที่เหมาะสมกับการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีของผู้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย และภาษีบำรุงท้องที่ ก่อนและหลังการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (purposiveselected)  จากประชาชนผู้เสียภาษีในเขตเทศบาลตำบลแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2555 จำนวน 50 คน

ผลการศึกษาเปรียบเทียบผลการพัฒนาชุกฝึกอบรมที่เหมาะสมกับการจัดเก็บภาษี กรณีศึกษาเทศบาลตำบลแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ผลการเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีของกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง  เพื่อทำการทดสอบสมมติฐานที่ว่า “การให้ความรู้แก่ประชาชนผู้เสียภาษีเกี่ยวกับระเบียบกฎหมาย วิธีการขั้นตอนในการเสียภาษี บทลงโทษ และหน้าที่ของผู้เสียภาษี โดยใช้วิธีการให้ความรู้ที่แตกต่างกัน ให้ผลที่แตกต่างกัน”  พบว่ากลุ่มควบคุมได้รับความรู้จากเอกสารชุดฝึกอบรมที่เทศบาลแจกให้เพิ่มมากขึ้นกว่าศึกษาจากเอกสารแผ่นพับ กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เห็นว่า เนื้อหายากต่อการทำความเข้าใจ เพราะเป็นระเบียบกฎหมายและเป็นภาษากฎหมาย ส่วนกลุ่มทดลองส่วนใหญ่เห็นว่าได้รับความรู้มากเกี่ยวกับการชำระภาษีของเทศบาลจากฝึกอบรม วิทยากรเป็นกันเองพูดใช้ภาษาที่ประชาชนเข้าใจง่ายมีการสาธิตประกอบฝึกปฏิบัติ และมีรูปภาพประกอบชัดเจนดี ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนมีความพึงพอใจอย่างมากที่ได้มารวมกลุ่มเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงทุกคนในกลุ่มที่เข้ารับการอบรม

 

THE DEVELOPMENT OF SUITABLE TRAINING PROGRAM FOR SUB-DISTRICT MUNICIPALITY TAXES LEVYING : CASE STUDY OF MAE CHAEM SUB-DISTRICT MUNICIPALITY, MAE CHAEM DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE

This research has two objectives. 1) To develop the suitable training program fortaxeslevying  for Mae Chaem Sub-district municipality, Mae Chaem District, Chiang Mai Province.  2) To compare achievement of knowledge and understanding about levying tax from taxpayers of property tax, sign tax and local maintenance tax before and after training session. The sample groups used in this research derived from purposive selected method that in the survey there were 50 taxpayers in Mae Chaem Sub-district municipality, Mae Chaem District, Chiang Mai Province in 2012.

The results were various opinions of both target groups after training session. Members in the control group stated that  they gained more knowledge from the training documents given by the municipality more than self-study from the leaflets and flyers. The majority of both groups agreed that the content is difficult to understand because of the Regulations and legal language. The majority of members in experimental group stated that they gained more knowledge about taxation from the training session and added that expert lecturer was friendly and what he said was so easy to understand. There was also the demonstration and practice sessions. Accompanying illustrations in the lecture were very clear. Therefore, all participants were highly satisfied to participate in the group training session and everyone in the groups said that the training session was so practical that they could use the knowledge in real-life situations.

Article Details

บท
บทความวิจัย