แนวทางการบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการทางการเห็น ที่เรียนวิชาเอกสาขาวิชาญี่ปุ่นในสถาบันอุดมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นสำหรับนักศึกษาพิการทางการเห็นในสถาบันอุดมศึกษา 2) เพื่อศึกษาเครือข่ายสนับสนุนการจัดการศึกษาให้นักศึกษาพิการทางการเห็นที่เรียนภาษาญี่ปุ่นในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่นักศึกษาพิการทางการเห็นที่เรียนภาษาญี่ปุ่นในปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 1 และ 2 จำนวน 1 คน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนามนุษย์และบุคคลที่มีความพิการ 2 คน อาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่นที่เคยสอนนักศึกษาพิการทางการเห็น 7 คน อาจารย์สอนภาษาไทยที่เคยสอนนักศึกษาพิการทางการเห็น 1 คน นักศึกษาพิการทางการเห็นที่เรียนภาษาไทย 3 คน นักศึกษาทั่วไปเรียนวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นที่เรียนร่วมกับนักศึกษาพิการทางการเห็น 5 คน รวมทั้งหมด 18 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ขั้นเตรียมการ ระยะที่ 2 ขั้นศึกษาสถานการณ์จริงและเก็บข้อมูล ระยะที่ 3 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล และวินิจฉัยปัญหา ระยะที่ 4 ขั้นการประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการสนับสนนุนักศึกษาพิการทางการเห็นและปัญหาในการเรียนการสอนที่มีนักศึกษาพิการทางการเห็นเรียนร่วม 2) แบบบันทึกรูปแบบบริการการสนับสนุนนักศึกษาพิการทางการเห็นที่เรียนวิชาเอกสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาโดยการวิเคราะห์เหตุการณ์ (Event Analysis) ออกเป็น 6 ประเภท คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และทำไม และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาในการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นสำหรับนักศึกษาพิการทางการเห็นและอาจารย์ผู้สอนคือ การจัดทำหนังสืออักษรเบรลล ์ เนื่องจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศสำหรับนักศึกษา และนักศึกษาพิการทางการเห็นต้องการหนังสืออักษรเบรลล์ ทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัยไม่มีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอักษรเบรลล์ภาษาญี่ปุ่นนอกจากนี้หนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นมีรูปภาพประกอบเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในแบบฝึกหัด ดังนั้นการผลิตหนังสืออักษรเบรลล์ภาษาญี่ปุ่นจึงทำได้ยากมากขึ้น ปัญหาในการเรียนการสอนนอกจากหนังสืออักษรเบรลล์ อาจารย์ผู้สอนไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ และบุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาพิการทางการเห็นไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กัน และได้แนวทางการบริการการสนับสนนุ นักศึกษาพิการทางการเห็นที่เรียนวิชาเอกสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นในสถาบันอุดมศึกษา คือ รูปแบบ UCoN Model ที่ประกอบด้วย U : Understanding-ทำความเข้าใจกับอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาทั่วไปที่เรียนด้วยกันกับนักศึกษาพิการทางการเห็น Co: Collaboration-ร่วมมือ และแยกบทบาทหน้าที่ N: Network-สร้างเครือข่ายระหว่างนักศึกษาพิการทางการเห็นกับคนที่สนับสนุน ซึ่ง UCoN Model เป็นรูปแบบที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนโดยตรงและยืนยันกันมาว่า เป็นรูปแบบการสนับสนุนนึกศึกษาพิการทางการเห็นที่เรียนภาษาญี่ปุ่นที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันและเป็นตัวอย่างหนึ่งที่รับนักศึกษาพิการที่เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น
THE GUIDELINES OF AN EDUCATION SUPPORT MODEL FOR VISUALLY IMPAIRED JAPANESE-MAJOR STUDENTS IN A HIGHER EDUCATION INSTITUTE
The objectives of this investigation were to examine problems of teaching Japanese for visually impaired students in a higher education institute and to explore an education support network for visually impaired Japanese-major students in the institute. The target group was one visually impaired Japanese-major student in the first and second semesters of the academic year 2015. There were 18 key informants, consisted of two staff from the Center for Disabled Individuals and Human Development, seven Japanese language teachers and one Thai language teacher who had taught visually impaired students, three visually impaired Thai-major students, and five general students who used to study with visually impaired students. The research was divided into four phases as follows: Phase 1 Preparation; Phase 2 Data Collection; Phase 3 Problem Identification and Data Analysis; and Phase 4 Evaluation. The research instruments were composed of interviews about education support for visually impaired students and issues on teaching these students and an education support record for visually impaired Japanese-major students. The event analysis, consisting of Who, What, Where, When, How and Why, and the content analysis were used to analyze the data.
The research findings revealed that instructional problems for visually impaired students and teachers were that Braille texts in Japanese were not easily constructed. As a foreign language, these students require Braille texts to support their study. Furthermore, there were no experts on Japanese Braille within and outside the university. Additionally, producing Japanese Braille texts was difficult due to a large number of pictures within the texts and in the exercise sections. Moreover, teachers were not knowledgeable about special education and personnel or agencies dealing with visually impaired students did not work collaboratively. The study yielded a UCoN model, which comprised U for understanding teachers instructing and general students studying with visually impaired students; Co for collaboration among individuals supporting visually impaired students and focusing on their individual roles; and N for network between visually impaired students and supporting personnel. This model was based on analyzing the data from individuals directly involved in teaching and supporting visually impaired students. This support model was confirmed to be suitable for current situations and was a factor in accepting visually impaired students into the Japanese program.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว