การสนับสนุนทางสังคมของผู้พิการในเขตเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

Main Article Content

รุ่งชฎาพร ใจยา
รพีพร เทียมจันทร์
ณรงค์ ณ เชียงใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสนับสนุนทางสังคมของผู้พิการในเขตเทศบาลเมืองลำพูน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 160 ราย  เป็นผู้พิการอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (ยกเว้นผู้พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  และ 2) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัยพบว่า ผู้พิการในเขตเทศบาลเมืองลำพูนได้รับการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า  ผู้พิการได้รับการสนับสนุนด้านอารมณ์ และด้านข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับสูง  แต่มีการสนับสนุนด้านการยอมรับ  ยกย่อง และเห็นคุณค่า ด้านการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และด้านสิ่งของ แรงงาน และบริการ อยู่ในระดับปานกลาง

 

SOCIAL SUPPORTS OF THE PERSONS WITH DISABILITIES IN MUANG LAMPHUN MUNICIPAL AREA, LAMPHUN PROVINCE

This descriptive study aims to study social support of the persons with disabilities in Maung Lamphun municipal area. The sample was 160 persons with disabilities at the age of 18 years and over living in Maung Lamphun municipal area, Maung district, Lamphun province (except intellectual disabilities or learning disabilities). The samples were selected by using simple random sampling. The instruments was a questionnaire consist of 1) Demographic Data   and 2) Social Supports questionnaire. Data were analyzed in terms of frequency distribution, mean, percentage, and standard deviation.

The results of the study revealed that the overall social support of the persons with disabilities in Maung Lamphun municipal area were at a high level. The social support in each aspects that is emotional support and information support were a high level, but esteem support, socially support and instrumental support were at a moderate level. 

Article Details

บท
บทความวิจัย