ผลของการนวดเท้าด้วยตนเองต่ออาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบ One-Group Pretest-Posttest Design มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดเท้าด้วยตนเองต่ออาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ คู่มือการนวดเท้าด้วยตนเอง พัฒนาโดยนายแพทย์ประยูร โกวิทย์ และคณะโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น มีค่าความเที่ยงตรง = 0.89 เครื่องมือรวบรวมข้อมูล 1) แบบบันทึกอาการชา 2) ไมโครฟิลาเมนท์ สำหรับวัดอาการชา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 33 คน สอนวิธีการนวดเท้าตามคู่มือ และ ประเมินผลการนวดถูกต้อง ทำการนวดเท้าด้วยตนเองทุกวัน เช้า-เย็น ครั้งละ 30 นาที เป็นเวลา 4 สัปดาห์ บันทึกระยะเวลาการนวด และ อาการชาในแบบบันทึก ผลการวิจัย พบว่า หลังการนวดเท้าด้วยตนเองอาการชาเท้าลดลงกว่าก่อนการนวดเท้าด้วยตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.001 (อาการชาเท้าก่อนการนวดเท้าด้วยตนเองและหลังการนวดเท้าด้วยตนเอง = 3.73 ± 2.35 และ 1.82 ± 1.73 จุด ตามลำดับ, p-value < 0.001) จากการศึกษานี้จึงสรุปว่า การนวดเท้าด้วยตนเองอย่างถูกวิธีในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาเท้า มีผลในการบรรเทาอาการชาเท้า
ข้อเสนอแนะ : ควรมีการสอนในผู้ป่วยเบาหวานทุกรายและควรทำอย่างต่อเนื่อง
THE EFFECT OF SELF FOOT MASSAGE TO NUMBNESS in the FEET OF THE PATIENTS WITH DIABETES IN WEINGSRA CROWN PRINCE HOSPITAL, WEINGSRA DISTRICT, SURATTHANI PROVINCE
The purpose of quasi-experimental one-group pretest-posttest design was to evaluate the effects of self foot massage to foot numbness in patients with diabetes in Weingsra Crown Prince Hospital, Surat Thani province. A sample of 33 participants was drawn by purposive sampling technique. Research instrumaents consist of self massage manual 1 day training developed by Dr. Prayoon Kowit, Banpai Hospital Khonkhan, validity level at 0.89. The tool for testing the numbness is monofilament.They did self foot massage everyday at 30 minutes at home for 4 weeks. The results showed that: after 4 weeks the numbness in their feet was significantly reduced. (3.73 ± 2.35, 1.82 ± 1.73, p-value < 0.001) It is suggested that self foot massage will have beneficial effects
This research suggested that : All DM patient should be trained to do self foot massage
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว