การจัดการเรียนรู้แบบเอ็กซ์พลิซิทเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโม่งหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านสะกดคำก่อนและหลังเรียน โดยใช้การเรียนรู้แบบเอ็กซ์พลิซิท ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านสะกดคำ ด้านการอ่านออกเสียงสะกดคำตามมาตราตัวสะกดเป็นรายคำ และด้านการอ่านออกเสียงสะกดคำจากเรื่องราวและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโม่งหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบเอ็กซ์พลิซิทเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านสะกดคำ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านสะกดคำ โดยแบ่งเป็น 3 ฉบับ คือแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านสะกดคำ แบบทดสอบการอ่านออกเสียงสะกดคำตามมาตราตัวสะกดเป็นรายคำ และแบบทดสอบการอ่านออกเสียงสะกดคำจากเรื่องราวและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (m) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การอ่านสะกดคำหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเอ็กซ์พลิซิททั้ง 3 ด้าน
THE EXPLICIT LEARNING MANAGEMENT FOR DEVELOPMENT THAI WORD SPELLING ACHIEVEMENT OF PRATHOMSUKSA 2 STUDENTS BANMONGLUANG SCHOOL, MAECHAEM DISTRICT, CHIANGMAI PROVINCE
The purpose of this research was to study Thai word spelling achievement before and after the explicit learning management consisted of Thai word spelling Knowledge and comprehension part, Thai word spelling has 2 the parts Thai word spelling principles part and Thai word spelling from the given stories and answered the given questions as well.
The populations are 19 students in Prathomsuksa 2 at Banmongluang School, Maechaem district, Chiang Mai province during the academic Year 2014. The research instruments were lesson plans using of the explicit learning management for development Thai word spelling and the 3 test of Thai word spelling the tests of Knowledge about Thai word spelling test and comprehension, the tests of Thai word spelling, and the tests of Thai word spelling from the given stories and answered the given questions. Analyzed data by finding mean (µ), standard deviation (s) and percentage. The results showed that the students got the posttest scores higher than the pretest scores by using the explicit learning management in all 3 parts
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว