การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้แนวคิดนิเวศวิทยาเชิงพุทธเพื่อวิถีชีวิตที่ยั่งยืน

Main Article Content

ปิยะมาศ ใจไฝ่

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้แนวคิดนิเวศวิทยาเชิงพุทธเพื่อวิถีชีวิตที่ยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดนิเวศวิทยาตะวันตก ๒)เพื่อศึกษาแนวคิดนิเวศวิทยาเชิงพุทธ ๓) เพื่อศึกษาวิธีการประยุกต์ใช้นิเวศวิทยาเชิงพุทธของกลุ่มเป้าหมาย และ ๔) เพื่อพัฒนารูปแบบการประยุกต์นิเวศวิทยาเชิงพุทธเพื่อวิถีชีวิตที่ยั่งยืน ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากเอกสารและศึกษาจากการประยุกต์ใช้แนวคิดนิเวศวิทยาของกลุ่มเป้าหมาย โดยเลือกศึกษา ๓ กลุ่ม เป็นตัวอย่างประชากรในระดับวัด ชุมชน และบ้าน ดังนี้ ๑) วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม ๒) กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ต. แม่ทา และ ๓) ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์พื้นบ้านพันพรรณ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด ๑๒ รายผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการประยุกต์ใช้นิเวศวิทยาเชิงพุทธเพื่อการพัฒนาวิถีชีวิตที่ยั่งยืน เป็นทางเลือกในวิถีทางแห่งการแก้ปัญหาระบบเชิงนิเวศที่ยั่งยืน มนุษย์ควรมีความเข้าใจนิยาม 5 ปฏิจจสมุปบาท และกฎไตรลักษณ์ เพื่อจะสามารถดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับระบบนิเวศตามหลักมรรคมีองค์ 8 ได้

 

The Development of the Buddhist Ecological Model  Applying for a Sustainable Life 

The entitle “The Development Of the Buddhist Ecological Model Applying For a Sustainable Life” consists of three objectives ; 1) to study the Ecological Philosophy Concept2) to study Buddhist Ecological Concept  3) to study the Buddhist Ecological application to the case studies and 4) to develop the Buddhist ecological model applying for a sustainable life. There are three case studies of the dissertation in which are the case study of the local, community, and temple as followings; 1) Pun Pun Organic Farm or the self-sufficient learning and the local seed saving center 2) Organic Agriculture group in Mae-Tha district and   3) Wat Phra That Doi Pha Som. This dissertation is a qualitative research by in-depth interviews of 12 participants. According to the research, it showed that the model of Buddhist ecological applying for a sustainable life is an alternative way of solving the problem of sustainable eco-system. Man should understand the rule of the 5 Niñamas, the interdependence and the 3 Characteristics , a good life that is appropriate to the eco-system and all must accord to the rule of The Noble Eightfold Path.

Article Details

บท
บทความวิจัย