การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูต่างกัน

Main Article Content

วนิษฐา เหลืออรุณ
สุวิมล ติรกานันท์
บุญมี พันธุ์ไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคของนักเรียนที่มีรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2557 จำนวน 385 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi stage random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการบรรยายข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variances) โดยทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธี Tamhane พบว่า รูปแบบ การอบรมเลี้ยงดู สามารถจัดกลุ่มได้ 4 กลุ่ม คือ การอบรมเลี้ยงดูที่เน้นแบบปล่อยปละละเลย การอบรมเลี้ยงดูที่เน้นแบบประชาธิปไตย การอบรมเลี้ยงดูที่เน้นแบบเข้มงวดกวดขัน และการอบรมเลี้ยงดูแบบผสมผสาน และนำผลจากข้อค้นพบในส่วนนี้ ไปจัดกลุ่มเพื่อเป็นตัวแปรอิสระ คือ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูต่อไป และจากผลการศึกษา พบว่า นักเรียนที่มีรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูต่างกัน มีความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มการอบรมเลี้ยงดูที่เน้นแบบประชาธิปไตยมีความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคสูงกว่านักเรียนที่อยู่ในกลุ่มการอบรมเลี้ยงดูที่เน้นแบบปล่อยปละละเลย การอบรมเลี้ยงดูแบบผสมผสานและการอบรมเลี้ยงดูที่เน้นแบบเข้มงวดกวดขัน ตามลำดับ


A COMPARATIVE STUDY OF THE ADVERSITY QUOTIENT OF MATTHAYOM SUEKSA ONE STUDENTS DIFFERING IN PARENTING STYLES IN SCHOOLS UNDER THE JURISDICTION OF THE BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION 

In this thesis, the researcher examines (1) selected Matthayom Sueksa One students who differ in the parenting style in which they were raised.The researcher thereupon compares (2) the adversity quotients (AQs) of these students. Using the multi-stage random sampling method, the researcher selected a sample population of 385 Matthayom Sueksa One students enrolled in the second semester of the academic year 2014 in schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration (BMA). Using techniques of descriptive statistics. In respect to standard deviation, the maximum and minimum values were concomitantly computed.  Insofar as inferential statistics is concerned, the researcher tested differences between groups using the one-way analysis of variance (ANOVA) technique. The researcher applied the multiple comparison method developed in Yosef Hochberg and Ajit C. Tamhane’s Multiple Comparison Procedures. Findings are as follows: The parenting styles can be grouped into four groups as follows: 1) Laissez-faire 2) Democratic 3) Autocratic 4) Blended. The students under investigation who differed in the parenting style in which they were raised, exhibited corresponding differences in adversity quotient (AQ) at the statistically significant level of .05.  The students who were raised in the democratic parenting style displayed AQs at a higher level.

Article Details

บท
บทความวิจัย