การพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านอมก๋อย โดยใช้กิจกรรมแผนผังความคิด

Main Article Content

จุฑามาศ คำยอง
ยุพิน อินทะยะ
ผจงกาญจน์ ภู่วิภาดาวรรธน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการอ่านเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านอมก๋อย โดยใช้กิจกรรมแผนผังความคิด และเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านอมก๋อย โดยใช้กิจกรรมแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนชุมชนบ้านอมก๋อย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของผลคะแนนการอ่านเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการทดสอบ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความเข้าใจในการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ  2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียน โดยใช้กิจกรรมแผนผังความคิด โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย 10.11  มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก

 

DEVELOPING READING COMPREHENSION OF PRATHOM SUKSA 6 STUDENTS’ CHUMCHONBANOMKOI SCHOOL BY USING MIND MAPPING ACTIVITIES

 The purposes of this research were to compare the reading comprehension of Prathom Suksa 6 students taught through mind mapping activities, and to assess their achievement during the implementation of the mind mapping activities. The sample group comprised 32 Prathom Suksa 6 students of Chumchon Ban Omkoi School enrolled in the second semester of BE 2558 academic year. The sample was randomly chosen. The research instruments were 16 learning management plans, a 30 items of multiple choice test of reading comprehension, and achievement assessment forms administered during the implementation. The data were analyzed for the percentile, mean and standard deviation. The dependent t-test was also used in the analysis. The research results revealed that the students’ reading comprehension scores after the experiment were significantly higher than those before the implementation at the .01 level. When the students were assessed during the implementation of the mind mapping activities, their average score was found to be 10.11, interpreted as a very good level.

Article Details

บท
บทความวิจัย