ภูมินามท้องถิ่น : ที่มา ความหมาย และอัตลักษณ์ของชื่อหมู่บ้านในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาและจัดหมวดหมู่ ที่มา อัตลักษณ์และความหมายของชื่อหมู่บ้านในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาวาทกรรมอำนาจของชื่อหมู่บ้านในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่และแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยคือ อำเภอหางดงซึ่งมีเขตการปกครอง 11 ตำบล มี 109 หมู่บ้า
การวิจัย พบว่า การจัดหมวดหมู่ภูมินามท้องถิ่น โดยจัดหมวดหมู่ตามหมวดหมู่ที่มีจำนวนชื่อมากไปสู่หมวดหมู่ที่มีจำนวนชื่อน้อย จำแนกได้ 9 หมวดหมู่ ได้แก่ การตั้งชื่อตามพันธุ์ไม้ การตั้งชื่อตามภูมิศาสตร์ การตั้งชื่อตามประวัติศาสตร์ตำนานหรือเรื่องเล่า การตั้งชื่อตามสิ่งก่อสร้างและสถานที่ การตั้งชื่อตามผู้นำหรือบุคคล การตั้งชื่อตามการแบ่งเขตการปกครองหรือการแยกหมู่บ้านหรือการเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อใหม่ การตั้งชื่อตามพันธุ์สัตว์ การตั้งชื่อตามระบบการผลิตหรืออาชีพ และการตั้งชื่อตามการแปลงภาษา
การศึกษาที่มาของชื่อหมู่บ้านที่สัมพันธ์กับความเป็นชุมชนท้องถิ่นสามารถจำแนกได้ 4 ด้านคือ ด้านพันธุ์ไม้ ด้านภูมิศาสตร์ ด้านสิ่งก่อสร้างและสถานที่ และด้านพันธุ์สัตว์ ในการศึกษาอัตลักษณ์ของชื่อหมู่บ้านจำแนกได้ 3 ประการ คือ อัตลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์ตำนานหรือเรื่องเล่า อัตลักษณ์ด้านระบบการผลิตหรืออาชีพ และการบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ นอกจากนี้การศึกษาความหมายของชื่อหมู่บ้านจำแนกได้ คือ ความหมายของชื่อหมู่บ้านแปลตามรูปศัพท์ และความหมายของชื่อหมู่บ้านด้านคุณค่า
วาทกรรมอำนาจของการตั้งชื่อหมู่บ้านจำแนกเป็น 4 ประการ คือ ด้านผู้นำบุคคลหรือบุคคล ด้านการแบ่งเขตการปกครองหรือการแยกหมู่บ้านหรือการเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อใหม่ การแปลงภาษาและด้านอิทธิพลของอำนาจภาครัฐส่วนกลาง
TOPONYMY : PROVENANCE, MEANING AND IDENTITY OF VILLAGE NAMES IN HANG DONG DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
The objectives of this research were to study the categories, provenance, identities, and meaning of village names in Hang Dong district, Chiang Mai province and to study the power discourse of village names in Hang Dong district, Chiang Mai province. The area and data resource consisted of 109 villages in 11 administrative regions in Hang Dong district.
The result of this research was found that the categories of village names were classified and ranked from the most to the least of village name categories. The categories were divided in 9 categories; plant species, geography, history or legend or tale, buildings and places, leaders or famous people, administrative zones or division of villages or changing village names, animal species, producing process or occupations, and changing languages.
The study of provenance of village names related with the community was classified in 4 categories. They were plant species, geography, buildings and places, and animal species. The study of identities of village names were classified in 3 categories. They were history or legend or tale, producing process or occupations, and ethnic. Moreover, the study of meaning of village names were classified in meaning of village names translated from literature and values of village names.
Regarding as the power discourse of village names was classified in 4 categories. They were leaders or famous people, administrative zones or division of villages or changing village names, changing languages, and influence of power of government centre.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว