บทบาทของผู้หญิงสามัญในเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย

Main Article Content

ทับทิม ชัยชะนะ
โกชัย สาริกบุตร
รังสรรค์ จันต๊ะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง บทบาทของผู้หญิงสามัญในเพลงลูกทุ่งร่วมสมัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์บทบาทของผู้หญิงสามัญในเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย แนวคิดของผู้ประพันธ์เพลงลูกทุ่งร่วมสมัย และปัจจัยทางสังคมที่กำหนดบทบาทของผู้หญิงสามัญในเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย ตามแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นเพศ แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของผู้หญิง และแนวคิดเกี่ยวกับสตรีนิยม

ผลการศึกษา พบว่า บทบาทของผู้หญิงที่ปรากฏ มี 8 ด้านได้แก่ บทบาทของผู้หญิงด้านการสร้างอำนาจต่อรองทางเพศ บทบาทของผู้หญิงที่บูชาความรัก บทบาทของผู้หญิงในฐานะลูกสาว บทบาทของผู้หญิงด้านความเชื่อความศรัทธา บทบาทของผู้หญิงที่ต่อสู้ชีวิต บทบาทของผู้หญิงทางเพศสภาวะ บทบาทของผู้หญิงในฐานะภรรยาและบทบาทของผู้หญิงในฐานะแม่

จากบทบาทของผู้หญิงทั้ง 8 ด้าน พบว่า บทบาทของผู้หญิงด้านการสร้างอำนาจต่อรองทางเพศมีบทเพลงจำนวนมากที่สุด 19 เพลง บทบาทของผู้หญิงที่บูชาความรัก มีบทเพลงมากรองลงมา จำนวน 14 เพลง และบทบาทของผู้หญิงในฐานะแม่ มีบทเพลงน้อยที่สุด จำนวน 5 เพลง ผู้ประพันธ์เพลง ได้สะท้อนแนวคิดของตนเองที่มีต่อผู้หญิง ได้แก่ แนวคิดเรื่องความเชื่อ แนวคิดด้านค่านิยมและวัฒนธรรม และแนวคิดความเป็นผู้หญิงสมัยใหม่พบว่า แนวคิดที่เด่นและพบมากที่สุด ได้แก่ แนวคิดความเป็นผู้หญิงสมัยใหม่

ปัจจัยทางสังคมที่กำหนดบทบาทของผู้หญิงมี 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการศึกษา และปัจจัยด้านวัฒนธรรมชุมชน เป็นปัจจัยกำหนดให้ผู้หญิงในเพลงลูกทุ่งมีบทบาทและบุคลิกที่เปลี่ยนไปจากอดีต และเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่เด่นที่สุด เพราะปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจทำให้ผู้หญิงมีบทบาทในการต่อสู้ชีวิต เพื่อยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น และให้ได้รับการยอมรับจากสังคม

ปัจจัยทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งทางด้านฐานะทางสังคม การศึกษา เศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสื่อ ได้ทำให้ผู้หญิงมีอำนาจต่อรองทางสังคมกับผู้ชายมากขึ้น ทำให้บทเพลงลูกทุ่งปัจจุบัน สะท้อนถึงบทบาทและอำนาจต่อรองทางสังคมของผู้หญิงได้อย่างชัดเจน


ROLES OF ORDINARY WOMEN IN THAI CONTEMPORARY FOLKSONGS 

The objectives of this investigation is to analyze the roles of ordinary women in contemporary folksongs, concepts of composer, and social factors that specify the roles of women in the contemporary folksongs, based on the concepts of gender, women’s roles, and feminism.

The analysis results reveal that there are eight roles of women found in this study. They include the roles of sexual negotiation power, women worshipping love, daughter, belief, life struggle, sexuality, wife and mother.

From the women’s role entire eight roles found that creation of sexual negotiation power has the most amount totality fifteen songs, secondarily women worshipping love totality fourteen songs and the least being wife’s role totality five songs.

Song composers reflect their various concepts on women for example belief, value, culture and being modern women found that the most outstanding concept mean being modern women.

There are four roles of social factors that specify the roles of women for example family, economy, education and social culture to specify the roles of women in folksong, personality change from the previous time and confront the social changing all the time. Especially the factor has the most distinctive because economic factor has an effect on roles of life struggle in promoting economic condition consecutively and acceptance of society.

Changing social factors, including social status, education, economy and media and technological advancement have enabled women to have more social negotiation power over men. Presently, folksongs are reflecting women’s social roles and negotiation power more clearly.

Article Details

บท
บทความวิจัย