อิทธิพลการแสดงราชสำนักสยามที่มีผลต่อการแสดงในคุ้มเจ้าหลวง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลการแสดงราชสำนักสยามที่อยู่ในการแสดงชุดระบำซอสมโภชช้างเผือกพระเศวตคชเดชน์ดิลกในคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่ ศึกษากระบวนท่ารำการแสดงชุดระบำซอสมโภชช้างเผือกวิเคราะห์ท่ารำระบำซอสมโภชช้างเผือก ผู้วิจัยได้ศึกษา เอกสาร งานวิจัย ตำรา วรรณกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ บันทึกภาพ เรียบเรียงเขียน บรรยายวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ระบำซอสมโภชช้างเผือกพระเศวตคชเดชน์ดิลกเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2469 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินเยือนเชียงใหม่ เมื่อคราวที่ชาวเชียงใหม่น้อมเกล้าฯ ถวายช้างเผือก เพื่อเป็นช้างคู่พระบารมีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 7 พระราชชายาเจ้าดารารัศมีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ร่วมกับครูฟ้อนครูละครในคุ้มประดิษฐ์ท่ารำขึ้น ใช้ฟ้อนกับ 3 ทำนอง ได้แก่ ซอโยนกทำนองซอยิ้นและทำนอง จ๊อยเจียงแสน บทร้องเป็นบทยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ในงานสมโภชช้างเผือก เป็นการรวบรวมรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์และดุริยางค์แบบราชสำนักสยามและราชสำนักล้านนาประสมประสานกัน
กระบวนท่าระบำซอสมโภชช้างเผือกพระเศวตคชเดชน์ดิลก มีกระบวนการคิดประดิษฐ์ท่ารำที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์ราชสำนักสยามกับนาฏศิลป์ล้านนา ผู้วิจัยได้นำกระบวนท่าหลักทั้งหมด 10 กระบวนท่า รวมถึงรูปแบบการแปรแถว 5 รูปแบบ นับว่าเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่มีอัตลักษณ์การแสดงการร่ายรำที่สวยงามแปลกตา ควรอนุรักษ์และเผยแพร่มิให้สูญหายสืบไป
THE INFLUENCES OF ROYAL COURT PERFORMANCE TOWARDS THE VASSAL PRINCE PALACE‘S PORFORMANCE
The research aims to study the influences of royal court in the Saw Dance, arranged for holy elephants bestowed celebration, and to study the dance patterns. Data was collected by interviewing, written narrating and descriptive analyzing.
The results show that Saw Dance was originated in 2465 Buddhist year when King Rama Vll accompanied with Her Majesty the Queen Rambhai Barni visited Chiang Mai Meanwhile, the holy elephants was bestowed to honor the king as Saw Dance was performed. King Ramav V wife; Chao Dararassamee and local dancing teachers created dance patterns and rhymes used; Yonok’Saw jin and Joi jiangsaen. The lyric was written to compliment to King Rama Vll. The dance were combined royal court art with Lanna art.
Saw Dance harmonized the raoyal court art with Lanna art. The researcher analyzed 10 fundamental dance patterns along with 5 posture movement patterns. The dance is unique and worth preserving.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว