ปารมีกูฏ : การปริวรรต การตรวจชำระและการศึกษาวิเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
คัมภีร์ธรรมปารมีกูฏ ฉบับวัดบ้านแจ่ม ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จารเมื่อ จ.ศ. 1212 (พ.ศ. 2393) มีจำนวน 8 ผูก มีกำเนิดจากเนื้อหาที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยนำเสนอสาระเกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ก่อนเสวยพระชาติเป็นพระพุทธเจ้า รูปแบบการจัดเนื้อหาของคัมภีร์ปารมีกูฏ ฉบับวัดบ้านแจ่ม มีลักษณะประกอบด้วยบทปณามคาถา ตามด้วยเนื้อเรื่อง ซึ่งเนื้อหาโดยย่อกล่าวถึงเรื่อง การบำเพ็ญบารมี 30 ทัศ ของพระโพธิสัตว์ก่อนเสวยพระชาติเป็นพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี ซึ่งแต่ละบารมีจำแนกระดับความยากตามลำดับคือ บารมี(ชั้นสามัญ) อุปบารมี(ชั้นรอง) และปรมัตถบารมี(ชั้นสูงสุด) และปิดท้ายด้วยนิคมคาถา โดยมีจุดมุ่งหมายของการประพันธ์ คือ ความเคารพเลื่อมใสในองค์พระศาสดา เป็นการส่งเสริมคุณค่าพุทธปรัชญา และเพื่อต้องการสื่อให้ผู้ฟังเกิดความเพลิดเพลินหรือจรรโลงใจ การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารที่เข้าใจได้ง่าย สอดคล้องกับภาษาของท้องถิ่น
PĀRAMĪKŪṬA:TRANSLITERATION, REVISION AND ANALYTICAL STUDY
The Pāramīkūṭa manuscript of Wat Baan Jaem, Makhue Jae Sub-district, Muang Lamphun District, was composed in Thai Minor Era 1212 (BE 2393) and totalized 8 chapters. The origin of the text, which can be found in the Tipiṭaka, was developed later by Lanna Scholars. It relates the Perfections performed by the Bodhisatta before taking rebirth as the Lord Buddha. The content of this manuscript refers to Panāmagātha that describes the difference practices of Pāramī, such Dāna Pāramī, Sīla Pāramī, Nekkhamma Pāramī, Paññā Pāramī, Viriya Pāramī, Khanti Pāramī, Sacca Pāramī, Adhiṭṭhāna Pāramī, Mettā Pāramī, and Upekkhā Pāramī. Each Pāramī is classified into various levels, from Ordinary various Pāramī to Upa Parami, or Superior Pāramī, and to Paramattha Pāramī, or Supreme Pāramī. At the end, the content was completed with Nigamagātha which aims to please the audience by using local language. This Dhamma scripture was recomposed in highly reverence to the Lord Buddha and helped promote the spirit of the Buddhist Philosophy.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว