การปรับตัวต่อการเปิดเสรีทางการค้าในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของผู้ประกอบการธุรกิจเซรามิค จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ภัทรธิดา วัฒนาพรรณกิตติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาบริบทการดำเนินธุรกิจและการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจเซรามิค  2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจเซรามิคต่อการเปิดเสรีทางการค้าและ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับตัวเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของผู้ประกอบการธุรกิจเซรามิค จังหวัดลำปางกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจเซรามิคในจังหวัดลำปาง จำนวน 114 ราย ซึ่งสุ่มด้วยวิธีการจับสลาก จากประชากรทั้งหมด 159 ราย อาศัยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เฉพาะกรณีเน้นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การกระจายร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึง การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติอนุมานด้วยการทดสอบสมมติฐานเพื่อดูอิทธิพลของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม ใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษาสามารถสรุป ได้ว่า ผู้ประกอบธุรกิจเซรามิคจังหวัดลำปางมีการรวมกลุ่มและมีความพยายาม ในการดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิคเพื่อแข่งขันในตลาดสากล โดยความร่วมมือและสนับสนุนจากองค์กร หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติยังพบว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความต้องการความเป็นอิสระในการดำเนินธุรกิจมากกว่าการรวมกันกลุ่มพบว่าการแสวงหาทรัพยากรและการสร้างสินทรัพย์ของธุรกิจเซรามิค คือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวเพื่อรองรับการเปิดการค้าเสรีในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มากที่สุด

กรณีของความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจต่อการเปิดเสรีทางการค้า และแรงกดดัน 5 ประการของการแข่งขันกับการปรับตัวเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก แต่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

 

ADAPTATION TO SUPPORT THE TRADE LIBERALIZATION ASEAN ECONOMIC COMMUNITY FOR THE CERAMIC ENTREPRENEURS IN LAMPANG PROVINCE

This research aimed to 1) examine the context adaptation of the ceramic entrepreneur 2) study factors which had an influence on the effectiveness of the ceramic entrepreneurs, and 3) develop guidelines to improve the understanding on trade liberalization and adaptation to support the trade liberalization ASEAN economic community (AEC)for the Ceramic Entrepreneurs in Lampang Province. Of all these, 114 of the ceramic entrepreneurs were chosen as a sampling group by Lotterying technique from 159 of the total ceramic entrepreneurs. The research tools were questionnaires and interviews with ceramic entrepreneurs who gave adaptation to support the trade liberalization ASEAN economic community in Lampang Province. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis, and Pearson’s product moment coefficient.

The findings were as follows. The Ceramic Entrepreneurs in Lampang Province had the group trying to make progress in production of ceramics to compete in the international market for cooperation and support from the enterprise organizations in the corporations both the public and private sectors. However, in practice also found that the course doesn’t succeed because some entrepreneurs want to be free in the business more than the combined group.

The pursuit resources and building asset are factors for the effectiveness of the adaptation to support trade liberalization ASEAN Economic Community were at a highest level. Case of cost pressures and pressures to understand on trade liberalization ASEAN Economic Community and five competition forces for adaptation to support the Trade Liberalization ASEAN Economic Community also found that is positive but relatively low.

Article Details

บท
บทความวิจัย