ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคเหนือตอนบนในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

อดิศร สุดดี
วันทนีย์ จันทร์เอี่ยม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคเหนือตอนบนในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยใช้วิธีการวิจัย 2 แบบ ดังนี้ คือการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเตรียมความพร้อม และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยนำข้อมูลที่ค้นพบในการวิจัยเชิงคุณภาพมาพิจารณาประกอบการสร้างเครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือผู้นำท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน  8 จังหวัด จำนวน 26 องค์กรๆ ละ 13 คน รวมทั้งสิ้น 338 พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความพร้อมน้อยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ปัจจัยทางด้านประสบการณ์ของผู้นำ การเปิดรับข่าวสาร เครือข่ายทางสังคม ความรู้สึกต่อการเข้ามาของกลุ่ม AEC และองค์กรภาคเอกชนในพื้นที่ มีความสัมพันธ์กับความพร้อมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 สำหรับปัจจัยด้านบริบทของผู้นำ นั้นพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติ และในส่วนที่สองเป็นการสำรวจปัญหาและอุปสรรคในการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยได้กำหนดเค้าโครงประเด็นสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ขาดความเข้าใจที่ชัดเจนในข้อตกลงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในระดับแผนและนโยบาย ขาดแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรที่ถูกจำกัดด้วยเวลาและภาระหน้าที่ประจำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่สามารพจัดให้บริการสาธารณูปโภค การคมนาคม การจัดการจราจรและการสร้างความเข้าใจระหว่างนักท่องเที่ยวและผู้คนภายในท้องถิ่นทำให้เกิดปัญหาทั้งอุบัติเหตุการจราจรและปัญหาที่มาจากความไม่เข้าใจในพื้นฐานวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อยอดไปสู่ปัญหาอื่นๆ ได้  ขาดการสนับสนุน ทางวิชาการและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าในสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและอัตลักษณ์ของชุมชน

 

READINESS OF LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONS IN UPPER NORTHERN REGION IN JOINING ASEAN ECONOMIC

This research aimed to study on the preparation of Local Administrative Organization in upper Northern for entering ASEAN Economic Community. Two methods for the research were used as follows; qualitative research for studying problems and difficulties in the preparation, and quantitative research. The data found in the qualitative research were considered with the creation of instruments to collect the data with samples for research. The samples used were 338 local leaders in the area of northern from 8 provinces, 26 organizations which each organization had 13 persons. It revealed that the samples had a low level of preparation to enter ASEAN Economic Community at significant level of 0.01. Pearson correlation coefficient was used for correlation analysis, it found that factors of leader experience, news exposure, social network, perception toward arrival of AEC group and private organization in the area were related with the preparation at significant level of 0.01. In regard to factor of leadership context, it found there was no statistical correlation. In the second section, it was an exploration of problems and difficulties for preparation to ASEAN Economic Community. The outline of interview point was designed to collect in-depth interview data, it found the lack of a clear understanding on the agreement of AEC regarding the plans and policies, lack of sources for information on personal development that was limited by time and routine responsibility, Local Administrative Organization was not able to provide services of utility, transportation, traffic management and creation of understanding between tourists and local people causing problems of both traffic accident and problem occurring from lack of fundamental understanding on different cultures which could be a problem that causes to the other problems, lack of technical and technology support to develop and increase value of what are local knowledge and community identity.

Article Details

บท
บทความวิจัย