ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่สู่ความเป็นเลิศ

Main Article Content

แสงเดือน วงศ์ชวลิต
มนัส สุวรรณ
มังกร ทองสุขดี
ชวิศ จิตรวิจารณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดความเป็นเลิศของวิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่สู่ความเป็นเลิศ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการพัฒนาดัชนีชี้วัดสู่ความเป็นเลิศของวิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยการวิจัยเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และเทคนิคเดลฟาย ระยะที่ 2 ศึกษาและวิเคราะห์บริบทการบริหารจัดการการศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่โดยการวิจัยเอกสาร แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก และระยะที่ 3 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่สู่ความเป็นเลิศ โดยการวิเคราะห์ SWOT การประชุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกำหนดยุทธศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ประชากรที่ใช้ศึกษามี 4 กลุ่ม จำนวน 56 คน จากตัวแทนแต่ละภาค ได้แก่ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ลพบุรี จันทบุรี กาฬสินธุ์ และพัทลุง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และค่ามัธยฐาน และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ดัชนีชี้วัดความเป็นเลิศของวิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท 43 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์และค่านิยม บริบทแวดล้อม และการบริหารจัดการ ด้านปัจจัยนำเข้า 65 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วยทรัพยากรบุคคล งบประมาณ หลักสูตรและสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นและชุมชน ด้านกระบวนการ 96 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วยการบริหารจัดการ กระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ศูนย์กลางด้านนาฏศิลป์ ดนตรี และคีตศิลป์ และกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านผลผลิต 19 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย คุณภาพของผู้เรียน วิทยาลัยแห่งความเป็นเลิศ และองค์ความรู้ด้านนาฏศิลป์ ดนตรี และคีตศิลป์ ด้านผลลัพธ์มี 24 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ศรัทธาของประชาชนต่อวิทยาลัย การตอบสนองด้านกำลังคนของประเทศ และการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  การตอบสนองด้านกำลังคนของประเทศ และการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 56 ตัวบ่งชี้

ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่สู่ความเป็นเลิศประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบการนำองค์กรด้านวิชาการและวิชาชีพด้านนาฏศิลป์ ดนตรีและคีตศิลป์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างเครือข่ายด้านวิชาการและวิชาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างและพัฒนาวัฒนธรรมการวิจัยด้านนาฏศิลป์ ดนตรีและคีตศิลป์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 ศูนย์กลางด้านนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์ และภูมิปัญญา ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริการวิชาการแก่สังคมด้านนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์ ยุทธศาสตร์ที่ 6 องค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านนาฏศิลป์ ดนตรีและคีตศิลป์ และยุทธศาสตร์ที่ 7 ผลิตครูและศิลปินด้านนาฏศิลป์ ดนตรี และคีตศิลป์ที่มีคุณภาพ

 

THE STRATEGY FOR DEVELOPING CHIANG MAI COLLEGE OF DRAMATIC ARTS TO EXCELLENCE

The purpose of this research were to develop indicators for the excellence of the College of Dramatic Arts, Bunditpatanasilpa Institute, to manage and analyze the Educational management process context of  Chiang Mai College of Dramatic Arts, and to develop the strategic for developing Chiang Mai College of Dramatic Arts to be excellent. This research was using quantitative and qualitative research methods that were divided into three phases: the first phase is to develop indicators for the excellence of the College of Dramatic Arts, Bunditpatanasilpa Institute by using Documentary Research Design, In-depth Interviews, Focus Group, and the Delphi technique. Phase 2, Study and analyze the context of management education of Chiang Mai College of  Dramatic Arts (CDACM), by archival research and in-depth interviews. Phase 3, Development Strategy CDACM to excellence .The SWOT analysis of the draft Strategy. Stakeholder Meeting experts check strategy and development CDACM to excellence. The target population represented by each of the four groups, including the Chiang Mai, Chanthaburi, Lop Buri, Kalasin and Phatthalung statistical methods used to analyze quantitative data, including the inter-quartile range. And the median And qualitative analysis used to analyze content.

The research found that Indicators of excellence the College of Dramatic Arts, Bunditpatanasilpa  Institute. The Context are 43 indicators include philosophy, vision, mission, values, identity, Uniqueness  and context. The Input are 65 indicators include human resources, budget, curriculum and learning environment and local knowledge and community. The Process are 96 indicators consist of management Learning process Measurement and valuation of learning activities to promote learning center for Dramatic Arts and quality assessment. The Output 19 indicators include quality of the learners. The College of Dramatic Arts to excellence and knowledge of Dramatic Arts. The Outcome 24 indicators the faith of the people toward college to meet the manpower of the country and to meet the needs of stakeholders.

The strategies for developing Chiang Mai College of Dramatic Arts to be excellent (7 DA's Strategies) consisting of these following strategies : 1. Dramatic Arts Leadership System : DALS; 2. Dramatic Arts to Create a Network : DACN; 3. Dramatic Arts Research Culture : DARC; 4. Dramatic Arts Wisdom Centre : DAWC; 5. Dramatic Arts Academic Services: DAAS; 6. Dramatic Arts learning organization : DALO and   7. Dramatic Arts to Produce Teachers and Artists : DATA.

Article Details

บท
บทความวิจัย