การใช้แผนผังความคิดเพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านปางหมู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อศึกษาความสามารถในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนโดยใช้แผนผังความคิด และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนโดยใช้แผนผังความคิด เครื่องมือที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแผนผังความคิด และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบวัดความสามารถด้านการฟัง ด้านการอ่าน ด้านการพูดด้านการเขียนภาษาอังกฤษ และ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ผลการทดสอบความสามารถด้านการฟังและด้านการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษโดยใช้แผนผังความคิด พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผลการทดสอบความสามารถด้านการเขียนแผนผังความคิดและด้านการพูดนำเสนอโดยใช้แผนผังความคิด พบว่า โดยรวมความสามารถ อยู่ในระดับมากและผลการสังเกตพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนโดยใช้แผนผังความคิด พบว่า โดยรวมผู้เรียนมีพฤติกรรมสนใจการเรียนภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก ซึ่งพฤติกรรมส่วนใหญ่ที่นักเรียนแสดงออกระหว่างกิจกรรมการเรียน การสอน ได้แก่ พฤติกรรมการแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการวางแผน การออกแบบแผนผังความคิดในรูปแบบที่หลากหลาย มีความสุข สนใจ ตั้งใจและกล้าแสดงออกมากขึ้น เข้าใจเนื้อหาที่เรียนในมิติที่กว้างและรอบด้าน ครอบคลุมประเด็นที่ศึกษา มีการทำงานเป็นระบบมีพัฒนาการด้านการเขียนและการนำเสนอที่ดีขึ้น มีความสนใจในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองมีความรับผิดชอบและมีวินัยในตนเองมากขึ้น ตลอดจนผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาจากบทเรียนสู่การใช้ชีวิตจริงได้ดี
IMPLEMENTING MIND MAPS TO DEVELOP ENGLISH LEARNING ABILITY OF PRATHOM SUKSA 6 STUDENTS AT BANPANGMOO SCHOOL
The purposes of this research were to study student’s English learning ability and their behavior by using mind mapping. The research tools were divided into 2 parts namely learning activities tools that consists lesson plans using mind mapping, and data collecting instruments were listening, reading speaking, writing abilities and behavior towards studying English.
The results showed as follow: By using mind mapping, listening and reading average point in posttest was higher than that in pretest. The writing and speaking ability were also in high level. Class was very interested in learning English by using mind mapping. The expression included creative thinking and planning. They could design various types of their own mind map. Their writing and presentation skill were significantly improved. The students also paid attention in English class with happiness, liveliness and responsibility. Furthermore, they could connect class lessons to real life.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว