การใช้การเรียนรู้ภาษาแบบประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟัง พูด ภาษาอังกฤษและความมั่นใจในตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังการใช้การเรียนรู้ภาษาแบบประสบการณ์และเพื่อศึกษาความมั่นใจในตนเองของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้การเรียนรู้ภาษาแบบประสบการณ์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการเรียนรู้ภาษาแบบประสบการณ์ จำนวน 6 แผน แผนละ 4 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษ หลังจบการสอนในแต่ละแผน และแบบวัดความมั่นใจในตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการฟัง พูด ภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหลังการเรียนรู้ภาษาแบบประสบการณ์ และนักเรียนมีความมั่นใจในตนเองสูงขึ้นหลังจากการเรียนรู้ภาษาแบบประสบการณ์
USING EXPERIENTIAL LANGUAGE LEARNING TO DEVELOP ENGLISH LISTENING-SPEAKING ABILITIES AND SELF-CONFIDENCE AMONG PRATHOM SUKSA 3 STUDENTS
The purposes of this research were to study English listening-speaking abilities of students after using experiential language learning and to study self-confidence of the students before and after using experiential language learning. The target group of this study was 20 Prathom Suksa 3 students of The Prince Royal's College during the second semester of the academic year 2015. The research instruments consisted of 6 experiential language learning lesson plans. Each of which took 4 hours, an English listening-speaking abilities test and a self-confidence questionnaire. The statistics used in data analysis included mean, standard deviation and percentage. Research findings found that the students’ English listening and speaking abilities passed the pre-set criteria after learning through experiential language learning. The students’ self-confidence increased after using experiential language learning.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว