กลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจสปาในโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการสปาในโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต และ (2) เสนอกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจสปาในโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดำเนินการวิจัย ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ คือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยจากแรงผลักดันทั้ง 5 ในการทำธุรกิจ เก็บข้อมูลจากประชากร คือเป็นผู้ดำเนินการสปาจากสถานประกอบการที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุ (MRA) แบบ Backward (2) ผู้ให้ข้อมูลหลักเพื่อการสังเคราะห์กลยุทธ์เลือกแบบเจาะจงเป็นตัวแทนผู้ดำเนินการสปาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อยและการประชาคม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยขีดความสามารถธุรกิจอยู่ในระดับปานกลาง อิทธิพลทำนายสูงสุดจากด้านผลิตภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ (R2=0.82) ค่าการเปลี่ยนแปลงสูงสุดจากแรงผลักดันของคู่แข่งรายใหม่ (b=0.19) และกลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การมุ่งเน้นเฉพาะส่วน (Focus) ในกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับกลางที่มาพักผ่อนและดูแลสุขภาพ (Leisure and Wellness Tourist) ใช้จ่ายต่อชั่วโมงระหว่าง 1,200-3,000 บาท และกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ด้านบริการ ภาพลักษณ์ ผู้ให้บริการ ผลิตภัณฑ์และช่องทางบริการ
STRATEGIES FOR IMPROVING COMPETITIVE COMPETENCY OF SPA IN HOTELS AND RESORTS IN PHUKET PROVINCE
The purposes of this research were (1) to study factors related to the competitiveness of spa business in hotels and resorts in Phuket and (2) to propose strategies for improving competitive competency of spa business for ASEAN Economic Community. This research used a mixed method research; both quantitative and qualitative research. Data collection was conducted by objectives as follows: (1) Driving force in the business (Five Forces Model) related to the competitiveness of spa business. The population was spa managers of spa business which their standard was guaranteed by the Ministry of Public Heath. The questionnaires were used as tools to collect data which was analysis by percentage, average, standard deviation, the t-test the F-test and multiple regression analysis (Backward). (2) The master data for this research was gathered from spa business entrepreneurs and spa managers in hotels and resorts located in Phuket. The samples were randomly selected using the ‘Purposive Sampling Technique’. The tools used to collect information were focus group discussion and civil society. The results of the study showed that the competitiveness of spa business was at a moderate level. As for the Multiple Regression Analysis, The Multiple Regression Analysis was predicted that the influence of product tools and equipment was at R2 = 0.82 compared with the maximum of a new competior. (2) The strategies to increase the competitive competency of business in 5 areas were market focus strategy, leisure and wellness tourist, and differentiation strategy of services, image, people, product and channel.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว