การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดมารยาทไทย สำหรับผู้อ่านภาษาไทย แบบข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

สัญญา สอนบุญทอง
โกชัย สาริกบุตร
สนิท สัตโยภาส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด มารยาทไทย สำหรับผู้อ่านภาษาไทยแบบข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการอ่านของนักเรียนที่ใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนและครูผู้ใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนบ้านปางคาม จำนวน 17 คน ได้มาด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด มารยาทไทย จำนวน 5 เล่ม (5 เรื่อง) แบบประเมินคุณภาพหนังสือส่งเสริมการอ่าน แบบทดสอบ วัด ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่า E1/E2 หาค่าเฉลี่ย (\dpi{100} \bar{X}) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัย พบว่า หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดนี้มีประสิทธิภาพยอมรับได้ ซึ่งมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.19/83.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านเท่ากับ 83.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 คุณภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่านมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (\dpi{100} \bar{X} = 4.63) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน อยู่ในระดับดีมาก (\dpi{100} \bar{X} = 4.62) และความคิดเห็นของครูที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน อยู่ในระดับดีมาก (\dpi{100} \bar{X} = 4.65)

 

A CONSTRUCTION OF A READING PROMOTION MODULE ON THAI ETIQUETTES FOR CROSS – CULTURAL THAI READERS AT PRATHOM SUKSA 6 LEVEL 

The objectives of this investigation were to construct and find out the efficiency of a reading promotion module on Thai Etiquettes for cross-cultural Thai readers at Prathom Suksa 6 level, to examine reading achievements of the students using the reading module, and to investigate students and teachers’ opinions on the reading module. The sample group consisted of 17 Prathom Suksa 6 students studying in the second semester of the 2015 academic year at Ban Pang Kham School. The research instruments included five books (five stories) on Thai etiquettes, a 30-item reading achievement test, a reading quality assessment form, and two constructed opinion questionnaires for the students and teachers. The data were analyzed for E1/E2, mean, and standard deviation.

The research findings revealed that the efficiency of this reading promotion module was acceptable, with the E1/E2 of 87.00/84.67, which was higher than the set criteria at 80/80. The reading achievement of the students was 83.93, which was higher than the 70% reading achievement criterion set by the Office of the Basic Education Commission. Furthermore, the quality of the reading promotion module was at the highest level (\dpi{100} \bar{X}=4.63).  The opinions of the students on the reading module was at the highest level (\dpi{100} \bar{X}=4.62) and the opinions of the teachers on the module was also at the highest level (\dpi{100} \bar{X}=4.65). 

Article Details

บท
บทความวิจัย