การศึกษาภาพลักษณ์ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัยตามการรับรู้ ของผู้ปกครองนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

Main Article Content

สิริญญา โกษะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทัศนคติของผู้ปกครองที่มีต่อภาพลักษณ์ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 359 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปกครองมีทัศนคติต่อภาพลักษณ์ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย อยู่ในระดับสูง  โดยมีทัศนคติ   ต่อภาพลักษณ์ของโรงเรียนในด้านจรรยาบรรณวิชาชีพครูเป็นลำดับสูงสุด รองลงมา คือ ด้านบุคลากร, ด้านการจัดประสบการณ์และระดับมาตรฐานของโรงเรียน, ด้านเอกลักษณ์ของโรงเรียน, ด้านอาคารสถานที่, ด้านการปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพ, ด้านภาวะผู้นำ, ด้านผู้บริหารมืออาชีพ, และด้านการพัฒนาสื่อแหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามลำดับ 2) ผู้ปกครองที่มีกลุ่มอายุแตกต่างกันมีทัศนคติต่อภาพลักษณ์ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัยทุกด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) ผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพแตกต่างกันมีทัศนคติต่อภาพลักษณ์ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัยทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05  4) ผู้ปกครองที่สำเร็จการศึกษาในระดับที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อภาพลักษณ์ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัยทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 กระทรวงมหาดไทย, “มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”, กรุงเทพฯ : ม.ป.ป., หน้า 1 – 28.
2 จันทรา จันทร์สุขสวัสดิ์, “ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาของโรงเรียนอนุบาลจันทรา อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา”, งานนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2550.
3 เฉิดโฉม บุณยโหตระ, “ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนก่อนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร”, วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต, 2550.
4 มณฑิกา สุจริตกุล, “ความคาดหวังของผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในระดับก่อนประถมศึกษา ในเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร”, วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2540.
5 หวน พินธุพันธ์, “การบริหารโรงเรียนด้านความสัมพันธ์กับชุมชน”, กรุงเทพฯ : ภาควิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน, 2528, หน้า 98.
6 ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร, “สภาพการจัดการศึกษาและความคาดหวังของผู้ปกครอง ที่มีต่อการจัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา จังหวัดกระบี่”, วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 2545.
7 วัชราภรณ์ พยัคฆ์เมธี, “ความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการจัดการศึกษาปฐมวัยในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่”, ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2546.