บทบาทของเทศบาลตำบลบ้านสร้างต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลบ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

จิระประภา ปัดถา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของเทศบาลตำบลบ้านสร้าง ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน ต่อบทบาทของเทศบาลตำบลบ้านสร้างต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าสถิติที  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยการทดสอบด้วยค่าสถิติเอฟ และเปรียบเทียบรายคู่โดยการทดสอบด้วยวิธีแอลเอสดี โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของเทศบาลตำบลบ้านสร้าง ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม และ 2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของเทศบาลตำบลบ้านสร้างต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ไม่แตกต่างกัน และประชาชนที่มีอาชีพ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของเทศบาลตำบลบ้านสร้างต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 ชวลิต สละ,“ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”, กรุงเทพฯ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
2 นิรันดร์ แซ่แต้, “คุณภาพชีวิตของประชาชน
ที่อาศัยอยู่ในชุมชนโชคดี เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี”, วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2555.
3 จักรพงษ์ เกเย็น, “คุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัยในชุมชน ของการเคหะแห่งชาติในเขตกรุงเทพมหานคร”, วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม), คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, 2554.
4 วินัย อ่ำดวง, “คุณภาพชีวิตของประชาชนชาวชุมชนสะพานสาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ”, วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา โครงการบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2552.
5 ปกรณ์ วามวาณิชย์, “คุณภาพชีวิตของประชาชน กรณีศึกษา ตำบลวารินชำราบและตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี”, การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2553.
6 เพชรรัตน์ ทองหยอด, “การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล ด้านการพัฒนา และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนใน จังหวัดอ่างทอง”, หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2555.
7 สามารถ สง่างาม, “คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองลัดหลวง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ”, วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2554.