แนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

ทิพวรรณ สร้างตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 127 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 127 คน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ที่สร้างขึ้นโดยมีความตรงเชิงเนื้อหา โครงสร้าง และหลักวิชาการ มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 47 รายการปฏิบัติ ได้แก่ 1) ด้านวิชาการ ประกอบด้วย 14 รายการปฏิบัติ เช่น ร่วมวางแผนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และร่วมดูแลรณรงค์ให้เด็กในพื้นที่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ด้านงบประมาณ ประกอบด้วย 11 รายการปฏิบัติ เช่น ร่วมวางแผนการใช้งบประมาณของสถานศึกษา 3) ด้านการบริหารงานบุคคล  ประกอบด้วย 10 รายการปฏิบัติ เช่น ร่วมส่งเสริม  สนับสนุน ให้ครูมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ  และร่วมดูแลสร้างขวัญกำลังใจ  ยกย่องเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษา  4) ด้านการบริหารงานทั่วไป  ประกอบด้วย 12 รายการปฏิบัติ เช่น ร่วมติดตาม ตรวจสอบ และร่วมประเมินผลการบริหารงานทั่วไปอย่างเป็นระบบ  และร่วมส่งเสริม  สนับสนุนเกี่ยวกับการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 กระทรวงศึกษาธิการ, “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545”, กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), 2550.
2 อารักษ์ พัฒนถาวร, “รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1”, สัมภาษณ์ 9 กันยายน, 2557.
3 สมบูรณ์ ภู่ระหงษ์, “แนวทางการพัฒนาครูผู้สอนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, 2551, หน้า 46.
4 พรทิพย์ วรกิจโภคาทร, “การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์”, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545, หน้า 93-94.
5 ทัศนีย์ วินิชชากร, “การมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา, 2548, หน้า 80.
6 สุเมธ จันทร์เจือจุน, “คุณลักษณะของผู้บริหารกับการบริหารงบประมาณสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในภูมิภาคตะวันตก”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553, หน้า 170.
7 สุระสิทธิ์ คะลีล้วน,“ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษาของผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 3”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 2551, หน้า 115.
8 นิเวศน์ อรรคพงษ์, “การศึกษาการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานทั่วไปในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 2547,หน้า 81.