ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการทำงานเป็นทีม ของครูสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยในจังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

ระวีวรรณ หงษ์กิตติยานนท์
รสริน เจิมไธสง
พรทิพย์ สุริยาชัยวัฒนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) ระดับการทำงานเป็นทีมของครู และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในจังหวัดสระแก้ว ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 178 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน  2) ระดับการทำงานเป็นทีมของครูอยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการทำงานเป็นทีมของครู /สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในจังหวัดสระแก้ว มีความสัมพันธ์กันสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 กระทรวงศึกษาธิการ, “แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2559”, กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค, 2555, หน้า 7.
2 อุทัย บุญประเสริฐ, “การบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน”, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545, หน้า 49.
3 ยงยุทธ เกษสาคร, “ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม”, นนทบุรี : ปัณณรัชต์, 2554, หน้า 52-54.
4 สุเมธ งามกนกการสร้างทีมงาน, “วารสารศึกษาศาสตร์ 19 (1) ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551”, ภาควิชาบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี, 2551, บทคัดย่อ.
5 ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน, “รายงานประเมินตนเอง SAR ปีงบประมาณ2553”, สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ, 2553, หน้า 34.
6 Swansburg, R.C., “Management and Leadership for nurse managers”, Boston: Jones and Bartlett Publisher, 1996, pp. 391- 393.
7 Robbins, S. P., “Essential of Organization Behavior”, (8 th ed.) New Jersey : Prentice Hall, 2001, p. 64.
8 Best, J. W. Best., “Research in Education, Englewood Cliffs”, New Jersey: Prentice – Hall Inc., 1970, p. 190.
9 ชูศรี วงศ์รัตนะ, “เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย”, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2553, หน้า 316.
10 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, “นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557”, กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิคจำกัด, 2557, หน้า 1.
11 วีรยุทธ แสงสิริวัฒน์, “การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด”, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550, หน้า 1.
12 ชิดชนก รอดเงิน, “การมีส่วนร่วมในการบริหารงานบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี”, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ราชภัฏราชนครินทร์, 2553, บทคัดย่อ.
13 ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน, “รายงานผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2556”, สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2556.
14 Austin, A, E, & Baldwin, R, G, “Enhancing the quality of scholarship and teaching”, Washington DC : Faculty collaboration The George Washington University Washington DC School of Education and Human Development, 1991.
15 เปรมฤดี ศิริชัย, “ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนวัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์กับความพึงพอใจในงานตามการรับรู้ของอาจารย์พยาบาลบรมราชชนนี ภาคเหนือ”, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551, หน้า 84-85.
16 Person, J. L., “An examination of the relation between participative management perceived institutional effectiveness in North Carolina community colleges”, Dissertation Abstracts International, 1994, p. 307-A.
17 ชาฤนี เหมือนโพธิ์ทอง, “การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการทำงานเป็นทีมของพนักงานครูในสถานศึกษา สังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1”, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.