นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

ธาตรี มหันตรัตน์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ  Key success factors ที่ทำให้นักการเมืองถิ่น จังหวัดอุทัยธานี ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี ที่เคยได้รับการเลือกตั้ง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (มกราคม พ.ศ. 2555) จำนวน 20 คน โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ Key informants คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีทั้งในอดีตและปัจจุบัน ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี ทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคคลที่มีความใกล้ชิดสนิทสนม ทั้งที่เป็นเครือญาติและบุคคลที่เคยทำงานร่วมกันที่สามารถให้ข้อมูลของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานีได้ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายบางท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว บางท่าน ไม่สามารถติดต่อกับทายาทหรือครอบครัวได้และบางท่านไม่ให้สัมภาษณ์ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการดำเนินการวิจัย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากเอกสารแทนการให้สัมภาษณ์ในบางส่วน ผลการศึกษาพบว่า ด้านภูมิหลังของนักการเมืองถิ่น ด้านการบริหารคะแนนเสียง ด้านสถานการณ์และวัฒนธรรมทางการเมือง ด้านความสัมพันธ์กับเครือข่ายต่าง ๆ เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ ที่ทำให้นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานีได้รับการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามปัจจัยดังกล่าว เป็นสิ่งที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต เมื่อรูปแบบการเลือกตั้ง วิธีการเลือกตั้ง และวิถีชีวิตของประชาชนชาวจังหวัดอุทัยธานีเปลี่ยนแปลงไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 เตช บุนนาค, “การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435 – 2458”, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, (พิมพ์ครั้งที่ 2), 2548, หน้า. 83.
2 “วารสารกำนันผู้ใหญ่บ้าน”, เล่ม 50, ธันวาคม 2542, หน้า. 5-6.
3 “พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116”, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 14, 30 พฤษภาคม ร.ศ. 116, 2440, หน้า. 105.
4 ทศพล สมพงษ์, “กระบวนการเลือกตั้งและปัจจัยในการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร”, กรุงเทพฯ, สถาบันพระปกเกล้า, 2545, หน้า. 164-168.
5 ประชัน รักพงษ์ และ รักฎา บรรเทิงสุข, “กระบวนการเลือกตั้งและปัจจัยในการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่”, กรุงเทพฯ, สถาบันพระปกเกล้า, 2545, หน้า. 60-63.