ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับวัฒนธรรมองค์กรของสถานศึกษา ในสังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร

Main Article Content

ทิพวรรณ มะเจียกจร
รสริน เจิมไธสง
พรทิพย์ สุริยาชัยวัฒนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร 2) ระดับวัฒนธรรมองค์กรของสถานศึกษา ในสังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับวัฒนธรรมองค์กรของสถานศึกษา ในสังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ รองผู้อำนวยการ และครูในสถานศึกษา จำนวน 192 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิชนิดที่เป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) วัฒนธรรมองค์กรของสถานศึกษา ในสังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับวัฒนธรรมองค์กรของสถานศึกษา ในสังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร พบว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 อรรณพ พงษ์วาท, “หลักการบริหารจัดการศึกษา”, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2540, หน้า. 58.
2 Southwest Education Development Laboratory, “Leadership Characteristics that facilitate School Change Retrieved”, August 24, 2009.
3 สมชาย เทพแสง และอรจิรา เทพแสง, “ผู้นำยุคใหม่หัวใจของการปฏิรูป”, นนทบุรี : อัลฟ่า มิเล็นเนียม, 2549, หน้า. 42-43.
4 Cooke, R.A. et al, “Organizational Culture Inventory”, Plymonth : MI Human Synergistics, 1989, p. 245.
5 Krejcie, R. V. & Morgan, D. W., “Ties Determining sample size for research activities”, Educational and Psychological Measurement, Autumn, 1970, p.p. 607-610.
6 Cronbach, L. J., “Essentials psychological testing”, (5thed), New York, Harper Collins, 1990, p.p. 202-204.
7 บุญชม ศรีสะอาด, “การวิจัยเบื้องต้น”, กรุงเทพฯ : สวีริยาสาส์น, 2545, หน้า. 103.
8 ชูศรี วงศ์รัตนะ, เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย, กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์, 2553, หน้า 316.
9 วลัยพรรณ คชวรรณ์, “ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความคัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต2”, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 2554, บทคัดย่อ.
10 นุชา สระสม, “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงขอผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต”, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.
11 Newstrom, W. & Davis, K., “Organizational behaviour human behaviour at work”, (9th ed.) New York, Mc Graw : Hill, 2001.
12 Patterson, L.J. & Others, “Guiding Beliefs of Our School Distict”, Productive School Systems for a No rational World, 1997, p. 50-51.
13 Robbins, S. P., “Psychology cognitive”, (5thed), McGraw-hill Inc, 2001.
14 Schein, E. H., “Organizational Culture and Leadership”, San Francisco : Jossey – Bass, 1985.
15 องอาจ วรรณวิสิทธิ์, “ความสัมพันธ์ระหว่างแบบผู้นำกับบรรยากาศองค์กรของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2”, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ราชภัฏราชนครินทร์, 2554.