การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้นิทาน ที่มีผลต่อความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างโรงเรียนวัดประมุง (แจ่มราษฎร์รังสรรค์) และโรงเรียนวัดโพธิ์ทอง กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนวัดประมุง (แจ่มราษฎร์รังสรรค์) และโรงเรียนวัดโพธิ์ทอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โดยการสุ่มแบบเจาะจง จากนั้นจับฉลาก ได้กลุ่มทดลองคือ นักเรียนโรงเรียนวัดประมุง (แจ่มราษฎร์รังสรรค์) 1 ห้องเรียน จำนวน 20 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทาน กลุ่มควบคุมคือ นักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์ทอง 1 ห้องเรียน จำนวน 20 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ระยะเวลาในการทดลองกลุ่มละ 24 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทาน แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัด ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้แผนแบบการวิจัยแบบสองกลุ่มสอบก่อนสอบหลัง วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ, สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2558, สืบค้นจาก http://www.niets.or.th.
3.รัตนาวลี ทรายมูล, “การใช้นิทานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน ความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและตระหนักรู้ด้านจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1”, วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.
4.ประไพพิศ แก้วดอนรี, “ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5”, ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.
5.สิริวรรณ ฤทธิสาร, “การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยที่ใช้วิธีการสอนแบบการ จัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบภาพและวิธีการสอนแบบปกติ”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2550.
6.สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ, “วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ”, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์ดวงกมล, 2545.
7.สุมณฑา วงษ์สวัสดิ์, “การใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมนนทรี กรุงเทพมหานคร”, สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2551
8.อมรลักษณ์ สัพโส, “การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทานอีสปพื้นบ้านประกอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 2550.
9.แสงจันทร์ กะลาม, “ความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนตามขั้นตอนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยใช้นิทาน”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.
10.รุ่งรวี ปัญญาแก้ว, “การใช้กิจกรรมการเล่านิทาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ ความรู้คำศัพท์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับกำลังพัฒนา”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550.
11.พรรณิภา เจริญทวี, “ผลของการจัดกิจกรรมวาดภาพประกอบการเล่านิทานที่มีต่อพัฒนาการ ด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย”, ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2554.
12.ชนิสรา พระสุรักษ์, “ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบกิจกรรมศิลปะ”, ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555.
13.ยุพิน วิลัย, “ผลของโปรแกรมการวาดภาพและโปรแกรมการฟังนิทานที่มีต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแนะแนวและให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2544.