การศึกษาปัญหาและความต้องการในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

นภาวรรณ สุขดี
พรเทพ รู้แผน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ของสถานศึกษา และ 2) เปรียบเทียบปัญหาและความต้องการในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา และ ประสบการณ์ในตำแหน่ง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 และ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า  1) ปัญหาในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความต้องการในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการเปรียบเทียบทางด้านปัญหาและด้านความต้องการในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนผลการเปรียบเทียบทางด้านปัญหาและความต้องการในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในตำแหน่ง พบว่า ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, “แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ 2557-2559”, 2557.
2.กนกพร ฉันทนารุ่งภักดิ์, “การพัฒนาคุณภาพครูและบุคลาการทางการศึกษาไทยโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ”, 2556.
3.จันทรานี สงวนนาม, “คุณลักษณะบางประการของผู้บริหาร บรรยากาศของโรงเรียนและความพึงพอใจในงานที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของโรงเรียนประถมศึกษา”, วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร, 2551.
4.วัชรีย์ ยิ้มยวล, “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2556.
5.ทินกร พูลพุฒ, “การพัฒนารูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2552.
6.กระทรวงศึกษาธิการ, “คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล”, 2553.
7.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1, “แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ2559 พระนครศรีอยุธยา เขต 1”, 2559.
8.สาโรจน์ มงคลเขตต์, ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป.อย. เขต 1, สัมภาษณ์, 2558.
9.พันทิพย์ ภูติยา. “สภาพ ปัญหาและแนวทางการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการศึกษาเทศบาลสกลนคร”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2550.
10.ศิริพรรณ์ ศิทธิพรหม, “สภาพ ปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2”, วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชนครพนม, 2552.
11.สุระชาติ ชุมพร, “สภาพและปัญหาการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียน สังกัดกลุ่มการศึกษาท้องถิ่น ที่ 9”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2550.
12.สุระพันธ์ ศิลปศาสตร์, “สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 2554.
13.พันทิพย์ ภูติยา, “สภาพปัญหาและแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการศึกษาเทศบาลสกลนคร”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2550.
14.ปาริชาต วิเชียร, “สภาพและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาพังงา”, วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพังงา, 2554.