แนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมัธยม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

มาเรียม รัมมะบุตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) นำเสนอแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา 2) ศึกษาความเหมาะสมของแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา มีวิธีดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน คือ 1) การนำเสนอแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่  ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามประเภทมาตรประมาณค่า 3 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง  2) การศึกษาความเหมาะสมของแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามประเภทมาตรประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์  3) การศึกษาความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ประชากรที่ใช้ ได้แก่ ผู้อำนวยการ  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 66 คน  เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามประเภท มาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า  1) การนำเสนอแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า มีความตรงเชิงเนื้อหาหลักวิชา และโครงสร้างมีความตรงเชิงเนื้อหา 4 ด้าน 30 รายการ ประกอบด้วย ด้านการวางแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 6 รายการ  ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 10 รายการ  ด้านการตรวจสอบและประเมินผล จำนวน 9 รายการ และด้านการปรับปรุงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 5 รายการ  2) การศึกษาความเหมาะสมของแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในภาพรวมมีความเหมาะสม ทั้ง 4 ด้าน สูงกว่าเกณฑ์กำหนดไว้ทุกด้านโดยมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  ด้านที่มีค่ามัธยฐานสูงสุด คือ ด้านการวางแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ 3) การศึกษาความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในภาพรวมมีความเป็นไปได้ทั้ง 4 ด้าน โดยค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาหลักสูตร และด้านการปรับปรุงการพัฒนาหลักสูตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 โรงเรียนสาธิตมัธยมมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, “หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสาธิต พุทธศักราช 2551”, โรงเรียนสาธิตมัธยมมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2556.
2 สมจิตร คงเพชรศักดิ์, “ความต้องในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์”, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2549.
3 อารุณี สินทรัพย์, “ปัญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนำร่อง และโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน”, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2549.
4 สุธา พงศ์ถาวรภิญโญ, “รายงานการวิจัยเรื่องการติดตามผลการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเขตการศึกษา 12”, สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 3, 2548.
5 พัชริน ทับทิม, “ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนต่อการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 2”, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2549.
6 ภาสกร อยู่เย็น, “สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2553.
7 สุลาวัลย์ หงส์ปาน, “ศึกษาการติดตามและประเมินการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551”, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555.
8 Bennett, R.M., “Teacher participation in curriculum development : A history of the idea and practice”. Retrieved July 22, 2014, fromhttps://www.pubmed?cmd=search&term=Bennett%20RM%5Bau 5D&dispmax=50.
9 ธนสาร บัลลังก์ปัทมา, “แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบมหามงคลจังหวัดนครปฐม”, มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชนครินทร์, 2550.
10 อัชชา แสงอัสนีย์ และปรียา บุญญสิริ, “การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์”, วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, 2551, หน้า 180-181.
11 Gundlach, D.J, “Build your own (BYOC) : Evaluating K-12 online curriculum Managementsystem”, Gardinal Stretch University, 2005.