บทความการศึกษาความสามารถทางภาษาไทยและความมุ่งมั่นในการทำงาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบสมดุลภาษา

Main Article Content

อวยพร พันธ์อุดม
สุภัทรา คงเรือง

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาไทยและความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบสมดุลภาษา 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาไทยและความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการจัดการเรียนรู้แบบสมดุลภาษากับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนปราสาททองวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2  โดยการสุ่มหลายขั้นตอบเลือกแบบเจาะจง จับฉลากเป็นกลุ่มทดลองจัดการเรียนรู้แบบสมดุลภาษา  คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2  และกลุ่มควบคุมจัดการเรียนรู้แบบปกติ  คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 ระยะเวลาในการทดลองกลุ่มละ  24 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสมดุลภาษา แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดความสามารถทางภาษาไทย แบบสังเกตพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงาน โดยใช้แผนแบบสองกลุ่มสอบก่อนสอบหลัง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถทางภาษาไทยและความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสมดุลภาษาก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถทางภาษาไทยและความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน  2) ความสามารถทางภาษาไทยและความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสมดุลภาษากับการจัดการเรียนรู้แบบปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบสมดุลภาษามีความสามารถทางภาษาไทยและความมุ่งมั่นในการทำงานสูงกว่ากลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2, “รายงานผลการสอบ O-NET ( เอกสารอัดสำเนา)”, 2557, หน้า. 1,84.
2 กรมวิชาการ, “เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2544 : คู่มือการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย”, 2545, หน้า. 106.
3 อารี สัณหฉวี, “สอนภาษาไทยแนวสมดุลภาษา”, 2550, หน้า. 3, 49-50.
4 กระทรวงศึกษาธิการ, “หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551”, 2555, หน้า. 1-21.
5 ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ, “สถิติวิทยาการทางการวิจัย”, สุวีริยาสาสน์, 2543, หน้า. 215-218.
6 กันตวรรณ มีสมสาร, “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาโดยบูรณาการแนวสมดุลภาษาและการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1”, วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตภาควิชาหลักสูตรและการสอน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554, หน้า. 117.
7 รสนันท์ นามจันทร์, “ผลการสอนอ่านและเขียนด้วยนิทานภาพร่วมกันตามแนวสมดุลภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและสอน, มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์, 2550.
8 ชญาภา วิชชาวณิชนันท์, “การใช้การให้คำปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริงเพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4”, การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.
9 วิมลวรรณ โลหิตยา, “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้บทประยุกต์และความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคท”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา, 2554.