ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

เพ็ญภักดิ์ บุรีรัตน์
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เปรียบเทียบความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด 3) ศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด และ 4) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 221 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านเจตคติ ด้านทักษะ และด้านความรู้ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความพร้อมจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด และประสบการณ์ในการทำงานไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนด้านอายุมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้แก่ ปัจจัยด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถ และปัจจัยด้านค่านิยมร่วม โดยสามารถทำนายความแปรปรวนรวมกันได้ร้อยละ 58.60 (R2 = .586) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ได้แก่ หน่วยงานควรจัดให้มีการฝึกอบรมด้านภาษาให้กับบุคลากรท้องถิ่น จัดให้มีการฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยี รวมทั้งส่งเสริมการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในสำนักงานเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.), “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2561)”, กรุงเทพฯ, วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย, 2556.
2 ธีร์วิสิฐ มูลงามกูลจ์ และคณะ, “การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลาง”,วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ปีที่ 3, ฉบับที่ 2, 2556, หน้า 71-82.
3 เฉลียว เถื่อนเภา, “การดำเนินงานเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนเครือข่ายศูนย์อาเซียนศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 2554.
4 ภชพน เชื่อมทอง, “การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์”, วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2556.
5 พรศ ทิวารัศชัย, “การเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการในชั้นเรียนของครูโรงเรียนสัตหีบ เขตฐานทัพเรือและเขตกองเรือยุทธการ สังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนสู่ประชาคมอาเซียน”, สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2555.
6 จารุวรรณี แพร่ศรีสกุล, “สภาพและแนวทางการ
บริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์”,วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2556.
7 อนุชิดา พลายอยู่วงษ์, “ความพร้อมในการให้บริการเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้ประกอบการรถทัวร์ปรับอากาศสายอีสาน-เหนือ”, การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556.
8 เกียรติชัย เวษฎาพันธุ์และคณะ, “การพัฒนาศักยภาพและความสามารถด้านการบริหารจัดการของผู้นำชุมชน จังหวัดปทุมธานี ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน”, การประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ประจำปี พ.ศ. 2557, ปทุมธานี, มิถุนายน. หน้า. 11-24.