จากวิจัยสู่การวางแผนการประชาสัมพันธ์

Main Article Content

เมธาวี แก้วสนิท

บทคัดย่อ

ขั้นตอนหนึ่งในงานประชาสัมพันธ์ ที่นักประชาสัมพันธ์มักหลงลืมคือ “การวิจัย” ซึ่งหมายถึง การค้นคว้าหาความจริง ข้อค้นพบอย่างเป็นระบบ ผ่านการวิเคราะห์อย่างมีหลักการ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ สำหรับงานประชาสัมพันธ์ การวิจัยมีประโยชน์มากในการเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ การวางแผน ตลอดจนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การวิจัย ยังไม่ได้รับความสำคัญมากนัก เนื่องจากนักประชาสัมพันธ์ไม่มีเวลา และมองไม่เห็นความสำคัญอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งๆ ที่การวิจัยนั้นมีความสัมพันธ์กับขั้นตอนอื่นๆ ในวงจรการประชาสัมพันธ์ กล่าวคือ การวิจัยเป็นขั้นตอนแรก ในการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการประชาสัมพันธ์ ซึ่งนำไปสู่การวางแผนที่มีหลักการ และจากนโยบายและแผนที่วางไว้ จะนำไปสู่การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย และประเมินผลจากการสื่อสาร และข้อมูลจากการประเมินผล ก็จะถูกรวบรวมไว้ในลักษณะการวิจัย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนต่อไปนั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 วารสารเชิงขวัญ สำนักพัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์, “วิจัย คือ อะไร?”, ปีที่ 18, ฉบับที่ 202, 2556, หน้า 33-35.
2 จินตวีร์ เกษมศุข, “การวิจัยงานประชาสัมพันธ์”, บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด, 2556.
3 นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์, “ประชาสัมพันธ์อย่างไรให้โดนใจผู้รับ”, บุ๊คส์ ยู ทู, 2556.
4 Sanchez, C., “3 Reasons Why Research Is Crucial to Effective Public Relations”, สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558, สืบค้นจากhttp://www.webershandwickseattle.com/2013/09/3-reasons-why-research-is-crucial-to-effective-public-relations/
5 Stack, D. “Primer of Public Relations Research (2th ed.)”, New York : The Guilford Press, 2011.
6 วิรัช ลภิรัตนกุล, “การประชาสัมพันธ์”, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พิมพ์ครั้งที่ 12), 2553.
7 พจน์ ใจชาญสุขกิจ, “พลิกโฉมองค์การด้วยกลยุทธ์การสื่อสารชั้นเซียน”, กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2550, หน้า 18-19.
8 Lang, F., “The Role of Research in Public Relations”, The Public Opinion Quarterly, ปีที่ 15, ฉบับที่ 1, 1951, หน้า 1.
9 รุ่งนภา พิตรปรีชา, “พลังแห่งการประชาสัมพันธ์”, บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด, 2556.
10 อภิชัจ พุกสวัสดิ์, “การประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างภาพลักษณ์”, บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด, 2556.
11 สุทธนิภา ศรีไสย์, “พีอาร์ไทย : เหล้าเก่า ในขวดใหม่”, จุดเปลี่ยนของการสื่อสาร Communication Change, 2555, หน้า 32.