การนำเสนอแนวทางการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

จินดา พลีรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทาง ศึกษาความเหมาะสม และศึกษาความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 127 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 มีความตรงตามเนื้อหาโครงสร้างและหลักวิชามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ที่จะนำไปปฏิบัติในเพื่อมุ่งสู่ความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ตามกระบวนการพัฒนา 3 ขั้นตอน รวม 3 ด้าน 78 รายการ ประกอบด้วย  1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 15 รายการ เช่น  จัดประชุม ให้ความรู้ สร้างความตระหนัก และชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตรสู่มาตรฐานสากลให้แก่บุคลากร จัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนให้ครอบคลุมและเป็นปัจจุบัน จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย แผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์ของโรงเรียน 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ จำนวน 39 รายการ เช่น จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ครู เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรของโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สู่มาตรฐานสากล จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง 3) ด้านการพัฒนาครู จำนวน 24 รายการ เช่น สร้างให้ครูทุกคนต้องเกิดความตระหนัก และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด วิธีการในการปฏิรูปการเรียนรู้สู่มาตรฐานสากลอย่างลึกซึ้ง ส่งเสริมให้มีการพัฒนาครูให้สามารถ ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 กระทรวงศึกษาธิการ, “คู่มือการพัฒนาหลักสูตรและการสอน”, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2553.
2 กระทรวงศึกษาธิการ, “แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล (ฉบับปรับปรุง)”, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2555.
3 กระทรวงศึกษาธิการ, “แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล”, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2553.
4 พวงรัตน์ ทวีรัตน์, “วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์”, สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, (พิมพ์ครั้งที่ 8), 2543.
5 ยุทธพงษ์ กัยวรรณ, “พื้นฐานการวิจัย”, สุวีริยาสาส์น, 2543.
6 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, “แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 – 2559)”, บริษัท พริกหวานกราฟฟิก จำกัด, 2553.
7 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, “คู่มือการดำเนินงานกรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของประเทศ (พ.ศ. 2555 – 2558) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล”, วารสารการศึกษาไทย, ปีที่ 10, ฉบับที่ 104, 2556, หน้า. 12.
8 อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ และคณะ, “การศึกษาความพร้อมของโรงเรียนคาทอลิกสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล”, วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, ปีที่ 6, ฉบับที่ 1, 2557, หน้า. 54.
9 I. Pufahl, “Going Global: Preparing Our Students for an Interconnected World”, Dissertation Abstracts International, 2001.
10 W. Hall, “Benchmarking for Success: Ensuring U.S.Students Receive a World-Class Education”, Dissertation Abstracts International, 2007.